การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้ง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้ง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้ง 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง รวมจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม 3) แบบประเมินทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่า t-test
ผลการศึกษา
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้ง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.02/83.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้ง มีทักษะทางสังคมหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมกลางแจ้ง เท่ากับ 0.6407 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.07
Downloads
Article Details
References
กรรณิการ์ บุญประเสริฐ. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาไทยและภาษามือไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินชั้นอนุบาล 2 .วิทยานิพนธ์กศ.ม. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
กฤษฎาภรณ์ ทิพใส. (2555). ผลการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านตูม (นพค.15 กรป.กลาง อุปถัมภ์) สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จังหวัดศรีสะเกษโดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กระทรวงมหาดไทย. (2547). การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์,
เกษราภรณ์ นาจาน. (2553). ผลการพัฒนาการจัดประสบการณ์พัฒนาการทางสังคม ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านด้ามพร้า อําเภอ
เมือง จังหวัดอุบลราชธานีสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,
เกษลดา มานะจุติ. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา 2172208 วิทยาศาสตร์สําหรับปฐมวัย. : คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงใหม่,
จุฬวดี ปทุมมณี. (2556). ผลการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เกมการละเล่นกลางแจ้งเพื่อสร้างเสริม ทักษะทางร่างกาย และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยศิลปากร,
นิตยา ประพฤติกิจ. (2549). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์การศาสนา,
เนตรชนก รักกาญจนันท์. (2557). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม ของเด็กปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,
ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิตและคณะ. (2550). วิทยาการการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ฝ่ายวิชาการ
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองป่าตอง. (2557). รายงานผลการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2557. ม.ป.ท,
เยาวนุช ทานาม. (2555). ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
เยาวพา เดชะคุปต์. (2551). การศึกษาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วารสารการศึกษาปฐมวัย (9) 4 .
วรารัตน์ เสริมทรง. (2557). ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษากับการใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะ. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2557). ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและวิธีการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย,
สุดารัตน์ เอียนานา. (2556). ผลการพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัด ประสบการณ์แบบโครงการ. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุภาวดี ลัภยานุกูล. (2549). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดและการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบใช้เกมประกอบการสาธิตกับแบบปฏิบัติการทดลอง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,