การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำในเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

ณภคกร เจะเลาะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบลักษณะความเป็นผู้นำก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำ จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จำนวน 30 แผน 3) แบบประเมินพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำ จำนวน 4 ชุด และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ  จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Samples) และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.87/85.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) ผลการพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำในเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีค่าเท่ากับ 0.73 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าลักษณะความเป็นผู้นำเพิ่ม 0.73 หรือคิดเป็นร้อยละ 73
4) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในภาพรวมอยู่ในระดับชอบมาก (x̄ = 2.61 , S.D. = 0.49)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กาญจนา ชูเกิด. (2559). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง. ตรัง: โรงเรียนบ้านควนยาง.

ชูศรี ไชยสอง. (2556). ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดลาดปลาดุก จังหวัดนนทบุรี.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ซาลิสา อุมา. (2560). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียน บ้านบูดี โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1.

ณัฐตินา รุจิพงษ์. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการเต้นประกอบเพลง ภาษาอังกฤษ. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา.

ณัฐพงศ์ บุณยารมณ์. (2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. : มหาวิทยาลัยนครพนม.

ทัตยา ปรีดิศรี. (2557). ผลการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมและพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้คู่มือครู ชุดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครสวรรค์: โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม.

ธนาภร สุขยิ่ง. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลีลาวดี ชนะมาร. (2550). กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำในเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา). : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็ก อายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). การประเมินผลแนวใหม่ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ: การประเมินสร้างความรู้จักนักเรียน. เอกสารประกอบการสอน. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรีพร เรืองสม. (2550). วิธีจัดการเรียนรู้ พิมพ์ครั้ง 4.กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สุวรรณี สร้อยเสนา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงพิลาทีสที่มีต่อพัฒนาการ ด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 11 (1) . 90-101