การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิก เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

อมรรัตน์ ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนภูมิกราฟิก เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิกราฟิก และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิกราฟิกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จํานวน 25 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1) ของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิก จํานวน 4 แผน 2) แบบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ แบบอัตนัยจํานวน 4 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิกราฟิก เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-group pretest-posttest design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1.การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิก เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.05/81.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้                                                                                                    2. ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิกราฟิกอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกศมณี คันธภูมิ. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนเรียงความด้วยกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จินต์ภาณี กองจินดา. ( 2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนภูมิ กราฟิก.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. ( 2559 ). นโยบายด้านการศึกษาของ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 20 ธันวาคม 2559. สืบค้นจาก https://www.bic.moe.go.th/index.php/

พิตรวัลย์ โกวิทวที. (2540). ทักษะและเทคนิคการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พิมพพันธ์ เดชะคุปต์.(2544). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สู่การวิจัยในชั้นเรียน “วิจัยในชั้นเรียนหลักการสู่การปฏิบัติ”. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเมนท์.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และเพยาว์ ยินดีสุข.(2560).ทักษะ 7 C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

โรงเรียนเทศบาล 3.(2560).รายงานประจำปีการศึกษา 2560. สุไหงโก-ลก : โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา).

ลำจวน ศรีกมล .(2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วทัญญู ขลิบเงิน. (2555). รู้เขา รู้เรา การศึกษาไทย วิถีถิ่น วิถีไทย ก้าวไกลในอาเซียน วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์.

วิไลวรรณ อุ่นจันทร์.(2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมิตรา อังวัฒนกุล.(2540). แนวคิดและเทคนิควิธีสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ.(2545). กรณีศึกษาการบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์.(2546). กิจกรรมการสอนการเขียน. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่การศึกษา.

Berger, Sanda. (1998). The Eric Clearinghouse on Sisabilities and Gifted Education Graphic Organizers. [online] Available form. <http://eric.org/minibibs/eb21.html.>[accessed 1 may 2019].

Burgess, Emily.(2008). The use of Graphic Organizers in the Writing Process in 9 th Wrade World History Class. Masters Abstracts International. 46(6) :

Capretz, Kari, Babara Ricker and Amanda Sasak. (2003) Improving Organizational Skillsท Through the Use of Graphic Organizer. Master’s Thesis Illinois Saint Xavier University,

Drafke Michael . Graphic Organizers, (2011). ” Graphic Organizers In General. 1997. [online] Available form <http://www.cod.edu/prople /faculty/drafke/Graphic%20organizers.html> [accessed 1 may 2019]