การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคแผนผังมโนทัศน์ร่วมกับการบูรณาการกูเกิลเสิร์ช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคแผนผังมโนทัศน์ร่วมกับการบูรณาการกูเกิลเสิร์ช 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อน และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคแผนผังมโนทัศน์ร่วมกับการบูรณาการกูเกิลเสิร์ช
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 35 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งนักเรียนห้องเรียนนี้เป็นนักเรียนที่มีระดับความสามารถในการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคแผนผังมโนทัศน์บูรณาการกูเกิลเสิร์ช จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน และหลังเรียน ตามแนวคิดของบลูม ซึ่งเป็นข้อสอบชนิดอัตนัย โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 4 แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมระดับมาก และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคแผนผังมโนทัศน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนแยกตามองค์ประกอบทางการคิดวิเคราะห์ของบลูมทั้ง 3 ด้าน คือ การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์โครงสร้างหลักการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนในทุกด้าน
Downloads
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
ดาริกา สมนึก. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพร อธิกิจ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์กับกลวิธีสืบค้นบนโปรแกรมค้นหากูเกิล: การศึกษากึ่งทดลองในกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพาฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ผจงจิตต์ ประทุมชาติ. (2559). การสืบค้นสารสนเทศ. อุดรธานี : สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพาฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเมนท์.
______. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพาฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13 (2): 125 – 139.
มยุรี ลี่ทองอิน. (2543). การสืบค้นข้อมูลทางการพยาบาลบนอินเตอร์เน็ต. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 23
(2 – 4), 75 – 82.
ศรเนตร อารีโสภณพิเชษฐ. (2557). กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 42 (3): 194 – 210.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2544). สอนให้เด็กคิดเป็น. กรุงเทพฯ : ทิปศ์พลับบลิเคชั่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://pisa thailand.ipst.ac.th/news-12/, เมื่อ 3 ธันวาคม 2562.
สายสุนีย์ คำวรรณะ. (2551). การศึกษาทักษะการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมการค้นหา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุริสา ไวแสน. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่อง สารละลายกรด – เบส โดยสอนสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้คำถามและผังมโนมติ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อัญชลี ตนานนท์ และคณะ. (2542). การพัฒนาแผนการสอนเพื่อเสริมทักษะความคิดในหลักสูตรมัธยมศึกษา. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาร์ม โพธิ์พัฒน์. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการ เขียนแผนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bloom, B. S. et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectiver Book: Cognitive Domain. London: Longman Group Company.
Dmirty Kotlyarenko. (2019). Top 10 search Engines in the World. Retrieved October 1, 2019, form https://clever – solution.com/blog/top – 10 – search – engines – in – the – world.
Joseph D. Novak. (1998). Learning, creating and using knowledge: Concept Maps™ as facilitative tools in schools and corporations. Journal of e – learning and Knowledge Society. 6(3): 21–30, September 2010. Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum Associates. Retrieved October 3, 2019, form http ://rodallrich.com/ advphysiology /ausu bel.pdf
Pertti Vakkari. (2016). “Searching as learning: A systematization based on literature.” Journal of Information Science. 42 (1): 7 – 18.
Stewart, M.D. (1975). “Cognitive and Affective Process Development and Their Relation to the Use of Lecture and Transition among Lecture Question and Student Initiated Comments.” Dissertation Abstracts International. 36(October): 2125 – A.