การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการใช้ทวิตเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสงวนหญิง

Main Article Content

สุพัตรา หมอยาดี
วัตสาตรี ดิถียนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการใช้ทวิตเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสงวนหญิง กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสงวนหญิง จำนวน 48 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีระดับความสามารถในการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ใกล้เคียงกัน และมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการใช้ทวิตเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อใช้วัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการใช้ทวิตเตอร์ มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการใช้ทวิตเตอร์ มีการพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาของการทดลอง และคุณสมบัติแฮชแท็กของทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ตะวัน เทวอักษร. (2555). การศึกษาในศตวรรษที่ 21 แนวทางการสร้างนักเรียนพันธุ์ใหม่. School in focus, 4(11), 4-5.

ทากาฮาชิ มาโกโตะ. (2551). เทคนิคการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2545). ความคิดสร้างสรรค์ : พรสวรรค์ที่พัฒนาได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฐรัศมิ์ ว่องไชยกุล. (2562). Twitter ไทย โตเร็วที่สุดในอาเซียน รุกหนักจีบพันธมิตรสื่อเปิดช่องลงโฆษณา., [online] ได้จาก https://forbesthailand.com/news/it/twitter-ไทย-การเติบโต.html [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562]

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). [online] ได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go .th/ DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562],

ศิริญญา ดวงคำจันทร์. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2): 63-70.

สมพร หลิมเจริญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานค่าสถิติพื้นฐานการสอบ GAT/PAT ประจำปี 2562.[online] ได้จาก https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/GAT-PAT/รายงานค่าสถิติพื้นฐานการสอบ%20GATPAT%20ประจำปีการศึกษา%202562.pdf [ สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562],

สิริลักษณ์ ตาณพันธุ์. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ ค.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์...การสอนคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ใยไหม.

GROSSECK, G & HOLOTESCU, C. (2008). The 4th Internatioal Sciencefic Conference eLSE : Can We Use Twitter For Educational Activities?. Bucharest: Scribd Ince.

Luo, T., Shah, S.J., & Crompton, H. (2018). “Using Twitter to support reflective learning in an asynchronous online course.” Australasian Journal of Education Technology, 35 (3): 31-44.

Tur, T & Marin, V.I. (2015). “Enhancing learning with the social media: student teachers’ perceptions on Twitter in a debate activity.” New Approaches in Educational Research, 4 (1): 46-53.

Twitter in collaboration with UNESCO. (n.d.). Teaching and Learning with Twitter. [online] available from https://about.twitter.com/content/dam/about-twitter/company/twitter-for-good/en/teaching-learning-with-twitter-unesco.pdf [Retrieved October 20, 2019, ]