การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและความคงทนในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น โดยการจัดกิจกรรม การอ่านแบบ DR-TA สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการอ่านแบบ DR-TA ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 2) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการอ่านแบบ DR-TA กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในหลักสูตรศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 30 คน รูปแบบที่ใช้ในการวิจัยคือการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วยวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นโดยการจัดกิจกรรมการอ่านแบบ DR-TA จำนวน 12 แผน 24 ชั่วโมง 2) เครื่องมือในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบตรวจสอบความคิดเห็นของนักเรียน และแบบทดสอบท้ายวงจร แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 20 ข้อ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นและใช้เป็นแบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นด้วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากการวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 89.8 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวิจัย
2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนและคะแนนจากการทดสอบหลังเรียน 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตรงตามสมมุตฐานที่ตั้งไว้
Downloads
Article Details
References
กณวรรธน์ บุญหล้า. (2558). การใช้กลวิธีการอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถ
ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2527). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทบาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมันตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขึ้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ณัฐธิดา กลางประชา. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้การสอนอ่าน Direted Reading - Thinking Activity (DR-TA). ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รัตน์ทญา โชติวิวัฒนาชัย. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนแบบ DR-TA เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดในการอ่านภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วารสารศึกษาศาสต์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 135-145.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). (2562) หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม
ฝ่ายมัธยม) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561-2562. มหาสารคาม.
สุชา จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5 ed.). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานค่าสถิติพื้นฐานการสอบ GAT / PAT ประจำปี 2562.
อัจฉรา สุขารมณ์. (2542). EQ กับการเลี้ยงดูเด็ก. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 5(1), 1.
Atkinson R.C., & Shiffrin R.M. (1968). Human memory: A proposed system and its control processes. New York:
Academic Press.
Ichikawa Yasuda. (2013). 外国人日本語学習者の文法的予測方をどう育てるか. 国際交流基金バンコク日本文化センタ
ー, 10, 1-14.
Feng, T. (2016). The Effects of Context and Word Exposure Frequency on Incidental Vocabulary Acquisition and
Retention Through Reading. The Language Learning Journal. 47(2).
Gagne R.M. (1970). The Condition of Learning. New York: Hoit, Rinchart and Winston.
Japan Foundation Bangkok. (2013) タイ国の日本語学習者数. タワン. (61)3.
Kinoshita Yuko. (2020). The Role of Japanese Language Education in the Asian Century. [omline] Available from
https://openresearch-repository.anu.edu.au/handle/1885/50359?mode=fullLe Tuyen Van , & Vo Huyen
[accassed 11,4,2019]
Thi Ngoc (2019). Effects of using Contextual Clues on English Vocabulary Retention and Reading omprehension.
International Journal of English, Literature and Social Science, 4(5), 1342-1347.
Russell G.Stauffer. (1969). Teaching reading as a thinking process. New York: Harper & Row.
Tierney, R., & Dishner. (1995). Reading strategies and practices : A compendium. Needham Heights, MA: Allyn &
Bacon.