การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลหนองคาย

Main Article Content

จอมพล รัตนา
ธนดล ภูสีฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  (1) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลหนองคาย (2) เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยตนเอง (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ป่วยไตเสื่อมที่เข้ามารักษาในคลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลหนองคาย ซึ่งเป็นผู้ป่วยไตเสื่อม ระยะที่ 4-5 จำนวน 115 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบวัดความรู้ความเข้าใจการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยไตเสื่อมมีต่อสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลหนองคาย มีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.4988 แสดงว่าผู้ใช้สื่อมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 49.88 2. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่าผู้ป่วยที่ใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคะแนนรวมทุกด้าน พบว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 51.48 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 75.19 มีคะแนน ด้านความรู้เรื่องโรคไต พบว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 66.67 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 87.83 ด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต พบว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 49.13 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 72.39 ด้านการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต พบว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 42.83 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 71.74 ด้านการบำบัดทดแทนไต พบว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 51.09 และหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 71.96 3. ผู้ป่วยที่ใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นพบว่ามีความพึงพอใจเฉลี่ยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Downloads

Article Details

บท
Research Article

References

คณิตตา ปันติ ศุภฤกษ์ ทานาค และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2563) .การผลิตสื่อวีดิทัศน์เชิงปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงาน

เย็บผ้า ในรายวิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 35 (1 ) 113-122

บรรจง พลไชย. (2557). การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนครพนม.

วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6 (11),78-88.

เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงศ์ศักดิ์ บัวจะมะ (2555). การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความมีจิตสาธารณะของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชา

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาสัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี. ปทุมธานี.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล. (2527). ไมโครคอมพิวเตอร์ประยุกต์ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อสารเสริม,

วรรณพร จิตรสังวรณ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง หลักสำคัญของเทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับนักศึกษา ปริญญาตรี

คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี,

วิทเชษฐ พิชัยศักดิ์และเอกพจน์ ก่อวุฒิ. (2559). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการปวดหลังระดับเอวสำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษา

แพทย์ชั้นปีที่ 5 ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช.

สุขญา บุญพิพัฒน์. (2560) .การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง ส่วนประสมการตลาด รายวิชาการขายเบื้องต้น 1 สำหรับนักเรียนระดับ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์.

อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การจัดและ

ตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ

อารีรัตน์ คงตัน. (2553) .ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการป้องกันการติดเชื้อ

จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

Nelson, R., & Staggers, I. N. (2014). Health informatics: An interprofessional approach. St. Louis,

MO:Elsevier Mosby.