การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยการจำแนกตาม ทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อณันริกา เนียมแก้ว
บุญส่ง กวยเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษามโมทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำนวน 2,294 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมดจะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 คน โดยคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านการสำรวจพหุปัญญาทั้ง 8 ด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดด้านละ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบชนิดอัตนัย จำนวน 7 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.73 การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า


1) พหุปัญญาสูงสุดที่มีจำนวนนักเรียนคือด้านศิลปะรองลงมาคือด้านการเคลื่อนไหวความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ด้านสังคมด้านภาษาด้านเครื่องกลและอิเล็กทรอนิกส์ด้านการได้ยินและด้านคณิตศาสตร์ 2) ด้านของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดด้านการคิดคำนวณมีรองลงมาคือด้านการใช้ทฤษฎีบทกฎสูตรบทนิยามและสมบัติผิดและด้านที่มีความถี่น้อยที่สุดคือด้านการตีความจากโจทย์ 

Article Details

How to Cite
เนียมแก้ว อ. ., & กวยเงิน บ. . (2024). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยการจำแนกตาม ทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 307–320. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/266696
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไข่มุก เลื่องสุนทร. (2552). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การศึกษาคณิตศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมวุฒิ คำเมือง, และไพรัชช์ จันทร์งาม. (2560). การศึกษาและสร้างนวัตกรรมที่แก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในสาระจำนวนและการดำเนินการของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 “มหาวิทยาลัย เพื่อรับใช้สังคม...พลังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0, 377-387.

ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระยุทธ จันทะคัด. (2554). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นวพล นนทภา. (2557). การพัฒนากลวิธีการในการแก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางระบบจำนวนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พรธิดา สุขกรม. (2557). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต(การศึกษาคณิตศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีรัตน์ ขยันกลาง. (2559). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2560). วิธีการสอนคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนให้เข้าใจง่าย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.fanmath.com/.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2544). ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1 ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้, สำนักงานเลขาธิการสภา. (2564). คู่มือการคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญาการศึกษา. สมุทรปราการ: เอส. บี. เค. การพิมพ์.

อัมพร ม้าคะนอง. (2558). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัศวิน บรรเทา. (2558). การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและมโนมติที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์ฯ (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 3(3): 12 - 24.

Suydam, M. N. (1986). Research on mathematics education reported in 1985. Journal for Research in Mathematics Education. 17(14): 243 - 316.