การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนออนไลน์ และส่งเสริมทักษะการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับครูในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

รักศักดิ์ เลิศคงคาทิพย์
พรพัฒน์ ฤทธิชัย
ปฐมพงศ์ อยู่จำนงค์
ศุภราภรณ์ ทองสุขแก้ว
วุฒินันท์ น้อยหัวหาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความคิดเห็น เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนออนไลน์ และส่งเสริมทักษะการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับครูในจังหวัดอุตรดิตถ์  2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนออนไลน์ และส่งเสริมทักษะการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับครูในจังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนออนไลน์ และส่งเสริมทักษะการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับครูในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในจังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพปัญหาและความต้องการในการฝึกอบรมฯ 2) แบบวัดความสามารถในการสอนออนไลน์ 3) แบบวัดทักษะการใช้สื่อออนไลน์
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ
          ผลการวิจัยพบว่า        
          1. การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการฝึกอบรมฯ พบว่าครูมีประสบการณ์การสอนผ่านระบบออนไลน์จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 52.8 และไม่เคยมีประสบการณ์จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 47.2  ในด้านความรู้เกี่ยวกับการสอนผ่านระบบออนไลน์พบว่า ครูส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 211 คนคิดเป็นร้อยละ 72.8  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมฝึกอบรมฯ จำนวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 81     
          2. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ได้องค์ประกอบของหลักสูตรทั้งสิ้น 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร  3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) กิจกรรม รูปแบบการเรียนการสอนและวิธีการฝึกอบรม 5) สื่อการสอน เทคโนโลยีการฝึกอบรมและแหล่งการเรียนรู้  6) คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม 7) การประเมินผลการฝึกอบรม  ค่าความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีค่าความเหมาะสมมากที่สุด  (= 4.52 , S.D.= 0.57) ค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50     
          3. การศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนามีประสิทธิภาพ (E1/E2)  82.5/83.1 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้    
          4. ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ ของผู้เข้าร่วมอบรมอยู่ในระดับมาก (= 4.40,
S.D.= 0.48)


คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  การเรียนสอนออนไลน์  สื่อออนไลน์

Article Details

How to Cite
เลิศคงคาทิพย์ ร., ฤทธิชัย พ. ., อยู่จำนงค์ ป. ., ทองสุขแก้ว ศ. ., & น้อยหัวหาด ว. . (2024). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนออนไลน์ และส่งเสริมทักษะการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับครูในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 281–292. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.266599
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนา. นครปฐม : โครงการส่งเสิรมการผลิตตำรา

และเอกสารการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาตรี มณีโกศล (2539). การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยปฏิบัติการ สำหรับครูประถมศึกษา.

วิทยานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชารี มณีศรี. (2538). การนิเทศการศึกษา. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด (2545) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน.มหาสารคาม : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชรา คงเหมาะ. (2560). แนวทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์สำาหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. : [ออนไลน์]. http://www.research.rmutt.ac.th/

?p=16207. (วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2564).

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2537) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน : ภาคปฏิบัติ.

กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

วิชิต สุรัตน์เรืองชัย (2534) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุม

โรคเอดส์ สำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพฯ.

วิไลวรรณ สิทธิและคณะ(2560) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้

ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

นครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (วิจัยหลักสูตรและการสอน). สกลนคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคาและคณะ. (2550). โครงการการสังเคราะห์รูปแบบ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ

นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพิ้นฐานทั้งใน

ประเทศและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. : [ออนไลน์].https://covid19.obec.go.th/. (วันที่ค้นข้อมูล 22 กันยายน 2564)

สงัด อุทรานันท์ (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มิตรสหาย.

อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติและคณะ (2564) โครงการวิจัยถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลนในชวงสถานการณการแพรระบาด ไวรัส COVID-19 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Good, C. V. (Ed). (1973) Dictionary of education. (3rd). New York : Mcgraw-Hill.

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In

R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and

Mcgregor, D. (1960) The Human Side of Enterprise. New York : Mcgraw- Hill.

Vroom, H Victor. 1964. Work and Motivation. New York : Wiley and Sons Inc.