ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

Main Article Content

ธาริณี ใจสอาด
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี 2) ศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู                          3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำ                         เชิงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2                     เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่, และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพลเมืองดิจิทัลของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า


            1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถพยากรณ์ ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูได้ร้อยละ 79.80 ดังสมการพยากรณ์ ดังนี้


            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


             =  0.292 + 0.450 (X1)+ 0.181 (X3) + 0.123 (X5) + 0.089 (X2) + 0.093 (X4)


            สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน                    


             = 0.431 (X6) + 0.222 (X3) + 0.136 (X1) + 0.118 (X5)

Article Details

How to Cite
ใจสอาด ธ. ., วรบำรุงกุล ธ., & จันทร์ส่งแสง อ. (2024). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 240–252. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.2666555
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เดชสม, และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 1(3): 154.

คุณาธิป จำปานิล. (2563). แนวทางการสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(2): 125.

จิณณวัฒน์ ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ธรรมอ็อฟเซท.

จุฬาลักษณ์ อักษรณรงค์, และกุหลาบ ปุริสาร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองหานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตเอเชีย วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 8(2): 178-188.

จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความฉลาดทางดิจิทัลกับพฤติกรรม การเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 25(3): 241.

ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(4): 144.

ธณัชนันท์ พรหมแทนสุด. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(8): 441.

นิศาชล บำรุงภักดี, และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร. 9(34): 193.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปองกมล สุรัตน์. (2561ก). สาเหตุและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการรังแกผ่านโลกไซเบอร์: กรณีศึกษาเยาวชนไทยผู้ถูกรังแก. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 1(4): 640-642.

_______. (2561ข). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในมิติสังคมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเยาวชนไทยเจเนอเรชั่น Z. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งอรุณ ป้องกัน, และลักขณา สริวัฒน์. (2566). การศึกษาองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน ระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7(3): 278-279.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563ก). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ : Digital Intelligence). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ส่งเสริมสื่อ เด็กและเยาวชน (สสย.).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก https://www.chan2.go.th.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า). (2566). ผลสำรวจพฤติกรรมออนไลน์ เด็กไทยเสี่ยงภัยคุกคาม 4 แบบ. สืบค้นเมื่อ8 มกราคม 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/articleview/4?fbclid=IwARKe4OxzSkARoRwmwr JV29J5oRIFV6Yr6KLsgG1SWUe0huErbNfK-H4.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี : การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(4): 216-224.

สุนันทา สมใจ, และวิชุดา กิจธรธรรม. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัย ดุสิตธานี. 12(1): 350-363.

สุปราณี วงษ์แสงจันทร์, และประกอบ คุณารักษ์. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 15(2): 26.

สุวรรณี ไวท์, สุวัฒสัน รักขันโท, และสิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2564). มนุษย์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Human : Digital Citizenship). มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 2(1): 214.

Grey-Bowen. (2010). A Study of Technology Leadership Among Elementary Public School Principals in Miami-Dade County. Ph.D. dissertation, United States of America: Faculty of Educational Leadership, St. Thomas University.

Hollandsworth, R., Dowdy, L., & Donovan, J. (2011). Digital Citizenship in K-12: It Takes a Village TechTrends. Retrieved 15 December 2022, from https://doi.org/10.1007/s11528-011-0510-z.

Kingsmill, T. J. (2016). The experience of digital citizenship in a secondary school curriculum (Doctoral dissertation). Australia: Australian Catholic University.

Ribble, M. (2011). Digital citizenship in schools. International Society for Technology in Education. Retrieved 15 December 2022, from http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/ digital-age/258/.

Snyder, S. E. (2016). Teachers’ perceptions of digital citizenship development in middle school students using social media and global collaborative projects. (Doctor of Education). U.S.A.: Walden University.