แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1

Main Article Content

นภสร ทวีกิจเสถียร
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์
สายทิตย์ ยะฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ        กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 285 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามระดับการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ มีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.98 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จัดประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง และการวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินแนวทาง การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


            1) ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ ด้านสังคม จรรยาบรรณ และกฎหมาย อยู่ในระดับมาก  รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก  และด้านที่ต่ำที่สุด คือ ด้านความสามารถในการใช้เครื่องมือดิจิทัล อยู่ในระดับมาก  2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดใจทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงจัดทำแผนการพัฒนาการศึกษา กำหนดกลยุทธ์ สนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล มีการอบรมพัฒนาตนเอง ศึกษาการเลือกใช้เครื่องมือดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง เป็นแบบอย่างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ดี กำหนดนโยบายเกี่บวกับกลยุทธ์วิสัยทัศน์ และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผล  3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านสูงสุด คือ ด้านเป็นประโยชน์  รองลงมา คือ ด้านความถูกต้อง  และต่ำที่สุด คือ ด้านความเหมาะสม 

Article Details

How to Cite
ทวีกิจเสถียร น., โพธิพิทักษ์ ป. ., & ยะฟู ส. . (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 159–171. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.266169
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จุฬาลักษณ์ อักษรณรงค์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตหนองหานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตเอเชีย. 8(2): 178-188.

ชีวิน อ่อนลออ, และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารบัณฑิตเอเชีย. 10(1): 108-119.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธนกฤต พราหมณ์นก. (2560). การศึกษาองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 17(1): 43-53.

ธีรโชติ หล่ายโท้. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีและทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 7(3): 507-509.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in digital era: ภาวะผู้นำ ในโลกดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565, จากhttps://today.line.me/th/pc/article/Leadership+in+digital+era.

ปิยฤทธิ์ จตุรทิศ. (2565). ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (6 พฤษภาคม 2565). สัมภาษณ์.

พิสณุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นแก้ว.

รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด กรุงเทพมหานคร.ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2557). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(4): 216-224.

สุนันทา สมใจ, และคณะ. (2560). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(1): 350-363.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565, จาก http://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/ general/123(2).pdf.

Duickert, J. (2016). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. New Jersey: Prentice-Hall.