แนวทางการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

Main Article Content

พรพรหม ใจเสือ
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์
สายทิตย์ ยะฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) หาแนวทางการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 313 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนและการสุ่ม      อย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์          การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงคือ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร โดยการสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย        การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


            1) สภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายด้านดังนี้ หลักความมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม และหลักความรับผิดชอบ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านดังนี้ หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส และหลักนิติธรรม ความต้องการจำเป็นพัฒนาแนวทางได้แก่ หลักความมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส และหลักคุณธรรม  2) แนวทางการพัฒนา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ กำกับติดตามครูในการปฏิบัติงาน ใช้จ่ายงบประมาณด้วยความสุจริต จัดให้ครูไปศึกษาดูงานในด้านเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการจัด    การเรียนการสอน ให้ครู นักเรียนผู้ปกครอง ตลอดทั้งชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการจัดการศึกษา โครงการ และกิจกรรมของสถานศึกษาที่จัดขึ้น ควรจัดทำปฏิทิน การปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามแผน และกระจายงานให้กับบุคลากร

Article Details

How to Cite
ใจเสือ พ. ., โพธิพิทักษ์ ป. ., & ยะฟู ส. . (2024). แนวทางการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 145–158. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.266168
บท
บทความวิจัย

References

กจิตตา ชินพิทักษ์วัฒนา. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นของผู้ดูแลเด็กในการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกวัยเตาะแตะในสถานรับเลี้ยงเด็ก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลจิรา รักษนคร. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern Learning Development. 5(3): 328 - 345.

จีรนาถ ภูริเศวตกาจร, อนันต์ ไกรบำรุง, และขนิษฐา แก้วเอียด. (2563).การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. ในรายงานการประชุมการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปีพ.ศ.2563 (The 7th National Conference of Nakhonratchasima College 2020) “นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและสังคม ในยุคดิจิตอล” วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา, หน้า 20 – 29.

จุฑากาญจน์ เก่งกสิกิจ. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนะวิน แสงทามาตย์. (2564).หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 1(3): 63-75.

ทรงพล คำเจริญ.(2565). การบริหารการศึกษา : ทฤษฎี หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ธวัชชัย นิลประดับ. (2559).การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 11(1) : 115-124.

ธีรญา เต็งศิริ. (2557). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบึงพิมสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นิตยา คงเกษม. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายพระบางเจ้าพระยา เมือง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด, และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

พงษ์กฤตย์ นามปพนอังกูร, และคนอื่น ๆ. (2563). ธรรมาภิบาล:หัวใจของการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, จาก file:///C:/Users/User/Downloads/natayama.pdf.

พระมหาวินัย สิริภทฺโท, บุญเชิด ชำนิศาสตร์, และพีรวัฒน์ ชัยสุข. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 7(3): 242-253.

ภูวินทร์ รักษ์พงศ์ (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รับขวัญ ภาคภูมิ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์กรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ลักษณาวดี บุญพบ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับ ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วารุณี โพธิ์คำ. (2566). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า. วารสารบัณฑิตศึกษา มรภ. บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 5(1): 53-62.

สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/19Dg1zhHyHiFxBIsWane8RteI3HM3Q-8p/view.

_______. (2566). รายงานข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ กลุ่มกฎหมายและคดี ประจำปีงบประมาณ 2566. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/19Dg1zhHyHiFxBIsWane8RteI3HM3Q-p/view.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). การบริหารการศึกษา : หลักการและทฤษฎี (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สุวิมล วองวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิสรา โชติภาภรณ์ (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการเรียนในยุคประชาคมอาเซียนของผู้เรียนโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7(2): 219-231.