การศึกษาและพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูด้วยการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

มงคล ศัยยกุล
ชญานิษฎ์ สุระเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูด้วยการให้คำปรึกษากลุ่มของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2566 ที่มีคะแนนบุคลิกภาพความเป็นครู ต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา จากนั้นสอบถามความสมัครใจในการเข้ารับการให้คำปรึกษากลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน โดยกลุ่มทดลองเข้ารับการให้คำปรึกษากลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบใดๆ เครื่องมือที่ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจบุคลิกภาพความเป็นครู แบบสอบถามปลายเปิด และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


            1) ผลการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พบว่า ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ (1) การตระหนักรู้ในตนเอง (2) แรงจูงใจในความเป็นครู และ (3) คุณลักษณะในความเป็นครู  2) ผลการพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูด้วยการให้คำปรึกษากลุ่มของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พบว่า บุคลิกภาพความเป็นครูโดยรวมเพิ่มขึ้น หลังจากได้รับการให้คำปรึกษากลุ่ม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาบุคลิกภาพความเป็นครูรายด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง อยู่ระดับปานกลาง ด้านแรงจูงใจในความเป็นครู อยู่ในระดับมาก  และด้านคุณลักษณะในความเป็นครู อยู่ในระดับมาก  และบุคลิกภาพความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นรายบุคคล พบว่า นักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ภายหลังได้รับการให้คำปรึกษา ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.18-3.80

Article Details

How to Cite
ศัยยกุล ม. ., & สุระเสนา ช. . (2024). การศึกษาและพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูด้วยการให้คำปรึกษากลุ่มสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 136–144. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.266054
บท
บทความวิจัย

References

จักรแก้ว นามเมือง, และคณะ.(2560) .การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Customer Satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการ งานบริการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการ เทศบาลเมืองแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

ธนู แสวงศักดิ์. (2565). คุณลักษณะครูที่ดีที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.kruchiangrai.net.

ทัศนีย์ สุริยะไชย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมความรู้สึกในวัยรุ่น. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2545). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรการผลิตครูในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(3): 22-31.

นันท์นภัส ตั้งภรณ์พรรณ. (2553). แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานการวิจัยและพัฒนา. พริกหวานกราฟฟิก.

เพชรสุดา เพชรใส. (2547). การศึกษาและพัฒนาสมรรถนะในการให้คำปรึกษาสำหรับครูแนะแนว. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัชรา สุขสังขาร. (2556). คู่มือการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทัศนคติทางเพศของวัยรุ่นหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. อ่างทอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง.

ภัณฑิรา ดวงจินดา. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มงคล ศัยยกุล. (2556). รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาราชภัฏ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาการแนะแนวและการปรึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัชนี กาญจนคีรีธำรง. (2561). บุคลิกภาพของพนักงานบริษัทไทยยูเนี่ยนซีฟู้ด จำกัด ที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รุ่ง แก้วแดง. (2553). ปฏิวัติการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2561). การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวของเยาวชนผู้กระทำผิดในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนฯ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาประยุกต์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ: รู้เขา รู้เรา. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สายสมร เฉลยกิตติ. (2554). การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพยาบาลวิชาชีพโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุรศักดิ์ สุทธิวรรณ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Caplan, S. W. (1975). The Effect of Group Counseling on Junior High School Boy’s Concept of Themselves in School. Journal of Counseling Psychology. 4: 124-128.

Corey Gerald. (2016). Theory and practice of group counseling. (8th ed.). Belmont: Tomson Brooks/Cole.

Hilgard, Ernest R. (1962). Introduction to Psychology. (3rd ed.). New York: Marcours, Brace & World Inc.

Kabilan, Muhammad Kamarul. (2004). Online Professional Development: A Literature Analysis of Teacher Competency. Malaysia: Journal of Computing in Teacher Education. 21(2): 51 – 57.

Sanford, F. H., & Wrightman, L. S. (1970). Psychology. (3rd ed). Belmont: Wadsworth Publishing Company.

Schneider, B. M. (1990). Managing Organization Behavior. New York: John Wiley & Sons.