การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองปลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์

Main Article Content

อรทัย เกิดบางกา
ปารุษยา เกียรติคีรี
สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองปลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร                    โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์ มีการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต                            ซึ่งประกอบด้วยการประเมินผลกระทบ การประเมินประสิทธิผล การประเมินความยั่งยืน และการประเมินการถ่ายโยงความรู้                   กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองปลา ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน 16 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 รวม 89 คนได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครูผู้สอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .994 แบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา               มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .959 แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .867 แบบสอบถามสำหรับนักเรียน            มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .902 แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูลใช้การวิเคราะห์อุปนัย ซึ่งสำนวนภาษาและคำตอบมีความถูกต้อง คงที่ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


            1) ผลการประเมินด้านบริบท ในภาพรวมมีความหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  4) ผลการประเมินด้านผลผลิต ซึ่งประกอบด้วย  4.1) การประเมินด้านผลกระทบ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.2) การประเมินด้านประสิทธิผลในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.3) การประเมินด้านความยั่งยืน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.4) การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เกิดบางกา อ. ., เกียรติคีรี ป. ., & ทองก้านเหลือง ส. . (2024). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองปลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 1–14. https://doi.org/10.2774.EDU2024.2.265392
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกศินี ถิ่นพังงา. (2565). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนกะเปอร์วิทยา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปเปี้ยสท์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

จิตตาภา มากแก้ว. (2566). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี 2 (บ้านดอนเกลี้ยง) โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยนส์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(3): 171-185.

ชมพูนุท ทองภู. (2563). การประเมินหลักสูตรบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดนครนายก โดยใช้รูปแบบชิป (CIPP MODEL). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรม การสอน). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นงนภัส บุญเหลือ. (2553). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทุมอนุสรณ์ โดยใช้ CIPP Model. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2557). การวิจัยทางสังคมศาสตร์: การประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร: แนวคิดกระบวนการและการใช้ผลการประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 8(1): 13-28.

มยุรี ฟักฟูม. (2556). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนตนของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การประเมินการศึกษา).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตร เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, SU กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(2): 248-262.

มาเรียม นิลพันธุ์, และคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2): 1198-1216.

โรงเรียนบ้านหนองปลา. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. ชุมพร: โรงเรียนบ้านหนองปลา.

เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ, และอรทัย รุ่งวชิรา. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาสู่เป้าหมายมาตรฐานการศึกษาชาติ. วารสารครุทรรศน์. 1(1): 77 - 96.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.