ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบบอร์ดไมโครบิตที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบบอร์ดไมโครบิต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบบอร์ดไมโครบิต กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านบึงราษฎร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 17 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบปัญหาเป็นฐานประกอบบอร์ดไมโครบิต จำนวน 4 แผน 12 ชั่วโมง โดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.48) และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค จำนวน 4 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงด้วยวิธีหาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ได้เท่ากับ 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีหาค่าความสอดคล้องของผู้ประเมิน (RAI) เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบบอร์ดไมโครบิต ส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 70.58 และรองลงมาอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 29.42 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบบอร์ดไมโครบิต มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาเท่ากับ 34.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ตะวัน เทวอักษร. (2561). การศึกษาไทยยุค 4.0 “ห้องเรียนที่ดีต้องปฏิสัมพันธ์กัน”. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.prachachat.net/education/news-245331.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
มลฤดี เพ็งสง่า. (2559). การเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). การศึกษาปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) รายวิชาวิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพจน์ ดอกจันทร์กลาง. (2556). ผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุรางคณา เหลืองกิจไพบูลย์. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ Micro:bit เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงคำนวณวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.