นวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องรอบรู้สิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกก่อนและหลังการจัดการเรียนด้วยการเรียนรู และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) นวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์มีประสิทธิภาพก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 83.86 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1) นวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องรอบรู้สิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/83.86 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรรยา ดาสา. (2552). 15 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. นิตยสาร สสวท. 36(163): 72-76.
ช่อผกา สุขุมทอง. .(2563) การพัฒนาชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ฐนกร สองเมืองหนู. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา). มหาวิทยาลัยฟาฏอนี.
ณพัฐอร บัวฉุน. (2561). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรากลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(1): 1-12.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2555). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นันทนา ธนานุศักดิ์. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการ โดยใช้ชุดกิจกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2. แพร่: โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง.
พงศกร เอี่ยมสะอาด, ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม, และประสพชัย พสุนนท์. (2559). นวัตกรรมกระบวนการการสร้างให้เกิดความ เปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พันธุ์อาจ ไชยรัตน์. (2547). เบื้องต้นของการจัดการนวัตกรรมการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
พิชิต อวิรุทธพาณิชย์. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านสติปัญญาทักษะกระบวนการและ คุณธรรมจริยธรรม. วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน. 7(1): 11 - 22.
ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน แนวคิดปัจจัยเชิงสาเหตุความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, สถาบันวิจัยพฤศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 10(1): 25-41.
มัสยา แสนสม. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชาญ ทรายอ่อน. (2562). การเรียนรู้ตลอดชีวิตในมาตรา 49 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กลุ่มงานบริหารวิชาการ.
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2561). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดการเรียนรู้. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(3): 356 – 369.
ศศิธร ชุตินันทกุล. (2561). การศึกษารายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2559 – 2562. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49(1): 6-27.
ศิรวิทย์ ปันแปง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับสื่อแอปพลิเคชันโดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาหลวง. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สงกรานต์ มณีโคตร. (2564). การพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์เรื่องการดำรงชีวิตของสัตว์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกก่องวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ว.มรม. 5(1): 49-60.
สนั่น เถาชารี. (2551). ความพยายามสร้างนวัตกรรมเป็นการคิด และทำความคิดให้เกิดผลเชิงประจักษ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). นวัตกรรม คือ“สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). 20 บทเรียน ต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Active Learning. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
สุภัทธิรา คงนาวัง, และนฤมล ภูสิงห์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 16(13): 131-147.
อนงค์ แก่นอินทร์. (2565). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อนันต์ มณีรัตน์. (2559). ความผูกพันในองค์การ: ศึกษากรณี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creative Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Reports No.1. Washington, D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.
Bonwell, C. C. (2003). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Retrieved July 24, 2022, from www.active-learning-site.com.
Hughes. (1987). Information Technology Innovation and Communication in Education. Retrieved July 24, 2022, from http://portal5.udru.ac.th.
Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.