การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา โดยจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์การทำงานและวิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา จำนวน 274 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่, และมอร์แกน โดยแบ่งกลุ่มตามขนาดสถานศึกษา และวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 40 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามความคิดเห็นของผู้บริหารงานงบประมาณ โดยภาพรวม และ รายด้านอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านการเงินและการควบคุมงบประมาณ ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และด้านการบริหารสินทรัพย์ ตามลำดับ ด้านที่มีลำดับต่ำคือ ด้านรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน ด้านการวางแผนงบประมาณและด้านการคำนวณต้นทุน 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารงานงบประมาณ พบว่า ขนาดสถานศึกษาที่ต่างกันความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการเงินและการควบคุมงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารงานงบประมาณที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นโดยภาพรวมและด้านการบริหารสินทรัพย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านอื่น ๆ ไม่ต่างกัน และผู้บริหารงานงบประมาณที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นโดยภาพรวม ด้านการคำนวณต้นทุนและด้านการบริหารสินทรัพย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านอื่น ๆ ไม่ต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมบัญชีกลาง. (2560). หลักเกณฑ์การคำนวณต้นทุนผลผลิตสำหรับส่วนราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://www.dol.go.th/plan/DocLib2/PDF_%E0%B8%AB%E0%B8%A5% E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%881.compressed.pdf.
กรมบัญชีกลางด้านการตรวจสอบภายใน (2551). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก http://www.audit.moi.go.th/books2551-09-23.pdf.
กองบัญชาการกองทัพไทย. (2563). คู่มือการตรวจสอบการควบคุมงบประมาณ กองตรวจสอบภายในที่ 2: สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://ssd.rtarf.mi.th/ssd/index.php/2020-03-17-01-56-57/2563.
ขนิษฐา ยศเมฆ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงบประมาณทางการศึกษากับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารและจัดการการศึกษา แขนงวิชาการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จารุวรรณ มาแต้ม. (2561). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจงบคีรีขันธ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิตสุภา ลิขิตรุ่งโรจน์. (2563). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณแบบ มุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาป?ระถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรัญญิกา จันทร์ชื่น. (2563). การบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ชัยรัตน์ เงินเนื้อดี. (2560). สภาพ และปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนะกงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐพร นาคสุวรรณ. (2564). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดรัณภพ เย็นวัฒนา. (2562). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นิกร ซุ่นพุ่ม. (2561). การศึกษาความเสี่ยงและแนวทางจัดการความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นุชา มาตหนองแวง. (2562). สภาพการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://www.prakanedu.go.th/wpcontent/uploads/2018/06/%E0%B8%9E%E0% B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B860.pdf.
รักษณาลี สุริหาร. (2563). สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิริพร สิทธิวงศ์. (2560). การบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สำนักงบประมาณ. (2555). การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1. (2564). รายงานข้อมูลสารสนเทศ. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มนโยบาย และแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564. กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564. กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/ 20170313-Education-Development-Plan-12.pdf.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Augustus, B. Turnbull. (1970). Government Budgeting and PPBS: A Program Introduction. Massachusetts: Addison- Wesley.
Dinham, S. (2005). Principal Leadership for Outstanding Educational Outcomes. Journal of Educational Administration, 43(4): 338-356.
Evan. (1994). Experiential learning for all. New York: Cassel.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Parry, Scott B. (1997). Evaluating the Impact of Training. Alexandria, Virginia: American Society for Training and Development.
Luther Gulick. (1973). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.
Sherwood, Frank P. (1954). The Management Approach to Budgeting. Brussels: International of Administrative Science.
Tolley, S., & Guthrie, J. (2007). Budgeting in New Zealand Secondary Schools in a Changing Devolved Financial Management Environment. Journal of Accounting and Organizational Change, 3(1): 4-28.