สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 330 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามการรับรู้ของครูที่มีต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า
1) ครูมีการรับรู้ต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้านในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการรับรู้ของครูต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า (1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีการรับรู้โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (2) ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน มีการรับรู้โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีการรับรู้ต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกต ขาวสะอาด. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการ และทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
จิติมา วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10): 458-472.
ณัฐธีรา มีจันทร์. (2562). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.
เบญจมาศ ตันสูงเนิน. (2564). องค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1): 22-40.
ปฐมสุข ศรีลาดเลา. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปวริศา มีศรี และโอฬาร กาญจนากาศ. (2563). สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1): 138-144.
พรศิริ ดวงสิน, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ และพงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง. (2565). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(84): 64-76.
พิชญ์สินี โภชนุกูล และเอกรินทร์ สังข์ทอง. การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครู ในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(3): 109-130.
ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภิชาพัชญ์ โหนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มานะ ครุธาโรจน์. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคการศึกษา 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการศึกษา). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รชต กฤตธรรมวรรณ, รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล และองค์อร สงวนญาติ (2563). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษาวิถีใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทัศน์, 5(2): 779-778.
เล็ก ขมิ้นเขียว, สมคิด สร้อยน้ำ และนวัตกร หอมสิน. (2562). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3): 113-124.
ศิรินนาถ ทับทิมใส. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค “การศึกษาที่พลิกผัน”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2552). โครงการพัฒนาสมรรถนะของครูตามระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2565-2567. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.sesao2.go.th/data_16575.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2564-2565). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.bopp.go.th/?p=1481.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ download/document/ SAC/NS_PlanOct2018.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัยพัชร ทองเดช. (2560). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสหวิทยาเขตบูรพาสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2558). สมรรถนะแห่งความสำเร็จสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียนในภูมิภาคแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ฟิลิปปินส์: อินโนเทค.
Cohen, L., Mansion, L., & Marrison, K. (2018). Research Methods in Education. 8th edition. New York: Routledge.
Hellriegel, D., Jackson, S. E., & Slocum, J. J. (2005). Management: A Competence-Based Approach. Singapore: Thomson South Western.
Kin, T. M., & Kareem, O. A. (2019). School leaders’ competencies that make a difference in the era of Education 4.0: A Conceptual framework. International Journal of Academic Research Business and Social Sciences, 9(5): 214-225.
Lambert, M., & Bouchamma, Y. (2019). The Development of Competencies Required for School Principals in Qubec: Adequacy between Competency Standard and Practice. Education Policy Analysis Archives, 27(116): 1-31.
Mas, S. R., Masaong, A. K., & Suking, A. (2021). School Principal Entrepreneurial Competency Development Model to Optimize Generating Production Unit Income. Journal of Educational and Social Research, 11(5): 109-122.