ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ลดาวัลย์ ทิพย์วงค์
พรรณราย เทียมทัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิงอ็อบเจกต์  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิงอ็อบเจกต์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดหนองตางู จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัด      การเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า


            1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิง  อ็อบเจกต์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิง อ็อบเจกต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิง อ็อบเจกต์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิชาเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ทิพย์วงค์ ล. . . ., & เทียมทัน พ. . . . . (2023). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ประกอบเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(1), 36–46. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/258355
บท
บทความวิจัย

References

ชมพูนาฏ ชมพูพันธ์. (2561). การใช้สื่อศึกษาผลของการใช้เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1): 31-42.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). นิยามเลิร์นนิงออปเจ็กต์ (Learning Object) เพื่อการออกแบบพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (4)4: 50 - 59.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์, 9(1): 64 - 71.

นันท์ณัฐ ค้อชากุล. (2564). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1): 89 - 109.

พลวัฒน์ เกตุชาวนา, วิมาน ใจดี, และมนัสนิต ใจดี. (2563). ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับจัดการเรียนรู้ด้วย โมบายเลิร์นนิง ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(1): 197 - 205.

วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิรงค์รอง จันทะสี. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ ที่ส่งผลต่อการสร้างความรู้ของนักเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สติยา ลังการ์พินธุ์. (2551). สื่อการเรียนรู้ดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อิสรีย์ เนาว์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). วิทยาลัยนครราชสีมา.