การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานแบบทะยานสู่เป้าหมายเพื่อเสริมสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์จุดแข็ง โอกาส แรงบันดาลใจ ผลลัพธ์ 2) สร้างและตรวจสอบยุทธศาสตร์ 3) ทดลองใช้ 4) ประเมินยุทธศาสตร์การบริหารงานแบบทะยานสู่เป้าหมายเพื่อเสริมสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน ในการวิเคราะห์จุดแข็ง โอกาส แรงบันดาลใจ ผลลัพธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ในการสร้างและตรวจสอบ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ในการทดลองใช้และประเมิน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสนทนา ร่างยุทธศาสตร์ แบบบันทึก แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการวิเคราะห์ (1) จุดแข็ง คือการมีส่วนร่วมของครู ทำงานเป็นทีม การใช้ ICT ในการบริหารและการจัด การเรียนรู้ (2) โอกาส คือ การมีส่วนร่วมของเครือข่าย (3) แรงบันดาลใจ คือ ครูต้องการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ (4) ผลลัพธ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้น คือ สมรรถนะของครูจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล คุณลักษณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การมี ส่วนร่วมจัดการศึกษา
- ผลการสร้างและตรวจสอบ ยุทธศาสตร์หลัก (1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (2) พัฒนาครูนวัตกรมีสมรรถนะจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล (3) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข (4) สร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของยุทธศาสตร์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม มาตรการส่งเสริมการบริหารและการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมการใช้ต้นทุนทางสังคม และทรัพยากรของชุมชนเพื่อการจัดการศึกษา 4) ผลการประเมินยุทธศาสตร์โดยภาพรวม มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญชนนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7): 153 - 168.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2559). ยุทธศาสตร์การบริหารงานแบบทะยานสู่เป้าหมาย (SOAR Analysis). วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(3): 1 - 6.
จีระนันท์ มูลมาตร, ธาริณี ใจสะอาด, นงเยาว์ เรืองบุญส่ง, ภานุวัฒน์ สุวรรณมาโจ, รวิวรรณ สิทธิสุวรรณ, ธีรังกูร วรบำรุงกุล, เริงวิชญ์ นิลโคตร, วัยวุฒิ บุญลอย, และ อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(2): 21 - 32.
ณัฐพล พันธุ์ภิญญา, เพียงแข ภูผายาง, สุรินทร์ ภูสิงห์, และ บรรจบ บุญจันทร์. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2): 220 - 231.
ประสิทธิ์ หนูกุ้ง, และ เรชา ชูสุวรรณ. (2565). การวางยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา Next normal: ความปกติถัดไปของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3): 776 - 789.
ภารดี อนันต์นาวี. (2564). องค์กรนวัตกรรมทางการศึกษา: การบริหารจัดการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(2).
ภิญโญ รัตนาพันธ์. (2556). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis. วารสารวิทยาลัย บัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 6(2): 7 - 20.
วนิดา แสนอินต๊ะ, และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อการบริหารโรงเรียนเอกชนในสังคมไทยปัจจุบันโดยใช้ SOAR Analysis. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2): 51 - 63.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3): 50 - 62.
ศศิรดา แพงไทย, และ สมใจ มณีวงษ์. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 12(2): 114 - 125.
สุนิสา คงสุวรรณ, พรเทพ รู้แผน, และ อรรณพ จีนะวัฒน์. (2561). การพัฒนาแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(3): 39 - 48.
อิสรา จิตตะโล, วราพร เอราวรรณ์, และ สมเกียรติ ทานอก. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(1): 386 - 396.
อัครนัย ขวัญอยู่. (2558). แนวทางการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. รายงานทีดีอาร์ไอ. ฉบับที่ 113, มีนาคม 2558.
Mithun Sridharan. (2022). SOAR Analysis – A tool for strategic planning. Retrieved 18 November 2022, from https://thinkinsights.net/strategy/soar-analysis/.
Tiina Korhonen, Jari Lavonen, Minna Kukkonen, Kati Sormunen, & Kalle Juuti. (2018). 9. The Innovative School as an Environment for the Design of Educational Innovations. Retrieved 10 November 2022, from https://www.researchgate.net/publication/301523446_The_Innovative_School_as_an_ Environment_for_the_Design_of_Educational_Innovations.