การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6 ถึง 1.0 2) แบบสัมภาษณ์แนวทางการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6 ถึง 1.0 3) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.8 ถึง 1.0 และ 4) แบบวัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6 ถึง 1.0 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.26 ถึง 0.38 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.51 ถึง 0.76 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
- นักศึกษาครูต้องการจะพัฒนาทักษะการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และครูพี่เลี้ยงต้องการให้มีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน
- รูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กระบวนการ จัดกิจกรรม และการวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 0.29) และ 3) นักศึกษาครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลังเรียนโดยใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). ศิลปะการสอนเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.
เชาวรินทร์ แก้วพรม, และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4): 115 - 212.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธานี นงนุช. (2542). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ปิยะนารถ จันทร์เล็ก. (2556). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเตรียมความพร้อมการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เกษตร. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). รู้เนื้อหาก่อนสอนเก่ง การเปลี่ยนวัฒนธรรมคุณภาพในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังสิยา นรินทร์, และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1): 57 - 70.
รัชนก โสภาพิศ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิชัย ประสิทธิวุฒิเวชช์. 2542. การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.
ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. (2563). ผลการประเมินภาพรวมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประจำปีการศึกษา 2562 (รายงานการประเมิน). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2533). สมบัติทิพย์ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.
เอธัส ศิลารักษ์, และ จิฑาภรณ์ อินทร์แย้ม. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคซิปปา. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(3): 57 - 67.
Bardo, J. W., & Hartman, J. J. (1982). Uban Sociology: a systematic Introduction. U.S.A.: F. E. Peacock.
De Cecco, John P. (1968). The Psychology of learning and Instruction: Education Psychology. New Jersey: Prentice-Hall.
Chickering, Arthur W. (1993). Education and Identity. (2nd ed.). San Francisco: Jossey gess Publishers.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
Husen, T., & Postlethwaite, T. N. (1994). The International Encyclopedia of Education. (2nd ed.). Oxford: Pergamon Press.
Moore, K. D. (1992). Classroom teaching skills. New York: McGraw-Hill.
Roger, C. R. (1969). Freedom to learn. Columbus, Ohio: Charles E. Merrill Publishing Company.