การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต“พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) เป็นการวิจัย เชิงประเมิน โดยใช้รูปแบบการประเมินของ Stufflebeam หรือ CIPP Model ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 20 คนประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ปกครอง และนักเรียน ผลวิจัยพบว่า
หลักสูตรโรงเรียนสาธิต“พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีลำดับความเหมาะสมดังนี้ ด้านผลผลิต ได้แก่ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.91) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ งบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.74) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และการบริหารหลักสูตร มีความความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56) และด้านบริบท ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.16)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
________. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์ (1991)
ศรัณย์ จันทร์ศรี, และ น้อมจิต กิตติโชติพาณิชย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตพระโขนง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 23(1): 62 – 79.
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2556). การพัฒนาและประเมินหลักสูตรสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล, นิรมล ศตวุฒิ, และระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2557). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมทรง สุภาพ. (2565). รูปแบบการประเมินในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1): 1 – 14.
สุภา นิลพงษ์. (2554). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการการประเมิน). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). มติคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ครั้งที่ 1/2558 ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2565, จาก http://scius.most.go.th/upload/downloads/67/99.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). รายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว) ระยะที่ 2. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2565,จาก http://scius.most.go.th/upload/downloads/56/82.PDF.
________. (2552). รายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว) 2552. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2565, จาก http://scius.most.go.th/upload/ downloads/56/82.PDF.
Shamsa Aziz, Munazza Mahmood, & Zahra Rehman. (2018). Implementation of CIPP Model for Quality Evaluation at School Level: A Case Study. Journal of Education and Educational Development, 5(1).
Stufflebeam, & Daniel, (2003). The CIPP model for Evaluation. International Handbook of Educational
Evaluation, p.31 – 62.