Creating and Developing การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษร่วมกับการสอนแบบ 5W1Hs ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษร่วมกับการสอนแบบ 5W1Hs ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านของนักเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 43 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ 18 แผน แบบฝึกทักษะการอ่าน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 ค่าที t–test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ร่วมกับการสอนแบบ
5W1Hs สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการพัฒนาแบบฝึกมีค่าประสิทธิภาพ 82.35/85.97 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.50) คิดเป็นร้อยละ 90 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ (µ = 4.51) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (µ = 4.50) และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (µ= 4.47) ตามลำดับ
คำสำคัญ: ทักษะการอ่านจับใจความ, พัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่าน, การสอนแบบ 5W1Hs
___________________________________________________________________________________________________
1ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ, โรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
1Teacher who teaches English, Wungpikulpittayakom School, The secondary Educational
Service Area Office 40
2ที่ปรึกษางานวิจัย, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2Advisor, Faculty of Science and Technology, Nakhon Sawan Rajabhat University
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลลักษณ์ บุญขันธ์, และคณะ. (2560). การจัดการเรียนการสอนแบบเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think pair Share) วิชาการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ชัคเซสมีเดีย.
จิราภรณ์ บุญณรงค์. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค KWL กับวิธีสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและวิธีสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนกพร สุริโย. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค 5W1H ประกอบกับแบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณัฐชา อักษรเดช. (2554). การสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดวงพร เฟื่องฟู. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริม การอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและ การสอน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
นัยนา ตรีเนตรสัมพันธ์. (2551). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสพสุข ฤทธิเดช. (2558). นวัตกรรมการศึกษาการสอนภาษาไทย. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม. (2562). ผลสัมฤทธิ์ปีการศึกษา 2562. [ม.ป.ท.]: โรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม.
มณีรัตน์ ศรีสุวรรณ, และอัญชลี ทองเอม. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอนวิทยาลัยครุศาสตร์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รุ่งทิพย์ ปราโมทย์พันธุ์, และเสกสรรค์ แดงสุวรรณ. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วงเดือน เจริญ. (2555). ความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการสารสนเทศ สำนักหอสมุด. ชลบุรี: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรางคณา เค้าอ้น (2559). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน, และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2549). การสอนเพื่อพัฒนาการคิด. สงขลา: เทมการพิมพ์.
สมชาย เกิดผล. (2559). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สยามรัฐ ลอยพิมาน, และชัยวัฒน์ วารี. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). เทคนิควิจัยด้านการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 English Teaching in the 21st Century. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย, 7(2), 303 - 314.
A. J. Harris. (1988). School improvement. London: Routledge Falrner.
Candlin, Christopher N. (1985). The Communicative Testing of English. Harlow, Essex: Longman Group Limited.
O’Malley, J. M., & A. U. Chamot. (1990). Learning strategies in Second Language Acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.