The การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็ทซ์ อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.
นฤมล นาดสูงเนิน. (2552). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชา การบัญชีเบื้องต้น 1 เรื่องสินทรัพย์ หนี้สินส่วนของเจ้าของ (ทุน) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD).
รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสวาท โพธิ์กฎ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2552). ครูสังคมศึกษากับประวัติศาสตร์ เทคนิคการสอนและการทำผลงานทางวิชาการ. สงขลา:มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อทิติยา สวยรูป. (2556).ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ (Cooperative Learning) โดยใช้เทคนิค Student Team Achievement Division (STAD) รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนการสอนด้วยวิธีแบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.
อิทธิพล เจริญเมือง. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนระบบเครือข่ายด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้า.
Barbato Rosemary Ann. (2000). Policy Implications of Cooperative Learning on the Achievement and Attitudes of Secondary School Mathematics Student. New York: Prentice Hall.
Benjamin, S. Blown. (1976). Human Characteristics and school Learning. New York: McGraw – Hill Book Company.
Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice. Englewood Cliffs, NJ: Prentic Hall.
_______. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice. Englewood Cliffs, NJ: Prentic Hall.
Wong, & et al. (1997). Assessing the Level of Student Reflection from Reflective Journals. Journal of Advanced Nursing, 22(1), 48 - 57.