The การแก้ปัญหาการท่องแม่สูตรคูณโดยใช้เกมตารางตัวเลขคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยใน การแก้ปัญหา การเรียนคณิตศาสตร์ โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ใช้เกมตารางตัวเลขคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหาการท่องแม่สูตรคูณใน การเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้เกมตารางตัวเลขคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหาการท่องแม่สูตรคูณในการเรียนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนนรู้ใช้เกมตารางตัวเลข การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ใช้เกมตารางตัวเลขคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหาการท่องแม่สูตรคูณในการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้เกมตารางตัวเลขคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหาการท่องแม่สูตรคูณในการเรียนคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (= 4.48, S.D. = 0.38)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. (2542). คู่มือสำหรับการสอนและการคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเกม. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิระประภา คำภาเกะ. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนะชัย โลหะการก. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เกมประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ฐิตา วัจนาคมกุล. (2555). การสอนโดยใช้เกมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
มัทนา สีแสด. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภานุพงศ์ คงเอียด. (2562). ผลของการสอนโดยใช้เกมที่มีผลต่อการเรียนรู้ วิชคณิต เรื่องการคูณ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง). รายงานวิจัยทางการศึกษา (วิชาชีพครู). วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.
ลักขณา ภูวิลัย. (2552). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกหัด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรี กาญจน์กีรติ. (2554). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. (เอกสารประกอบการสอน). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ไพรวัลย์ เสนงาม. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุไรวรรณ กิมเฮง. (2551). การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้โดยใช้ชุดนิทานคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Grambs, J. D., Carr, J. C., & Fitch, R. M. (1970). Modern Methods in Secondary Education. (3rd Edition). U.S.A.: Holt, Rinehart and Winston, Inc.