The การศึกษาปัญหาการดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับตำบล จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

Main Article Content

จันทร์ศิริ ปัญญาวงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาการศึกษาปัญหาการดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับตำบล จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 51 แห่ง ประชากร ได้แก่ ครู กศน.ตำบล สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน จำนวน 51 แห่ง จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 


            ปัญหาการดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับตำบล จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัญหาการดำเนินงานของสถานศึกษาสูงสุดคือ ด้านการมีส่วนร่วม รองลงมา คือ ด้านบริหารจัด    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านการติดตามประเมินผลและรายงานผล

Article Details

How to Cite
ปัญญาวงค์ จ. . (2022). The การศึกษาปัญหาการดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับตำบล จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(3), 35–44. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/254275
บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ สงวนชม. (2549). ภูมิปัญญาและการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรดิน กรณีศึกษาหมู่บ้านกะเลา ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ณัฐชยา พันลาเนา. (2556). การศึกษาสภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายบริหารการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดวงพร หวานเย็น. (2556). การจัดการการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสารโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และการประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2546). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาชน ประชาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน.

นิกร กาญจนสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปราณี อ่อนศรี. (2557). ACTOR Model: ทางเลือกในการจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15, 97 - 102.

พูลทรัพย์ เตินเตือน. (2553). สภาพปัญหาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน. (2554). คู่มือการดำเนินงาน กศน. ตำบล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: รังสี.

_______. (2553). แนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนให้เป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: รังสี.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน. (2559). รายงานผลการประเมินมาตรฐาน กศน. ปี 2559. ลำพูน: ผู้แต่ง.

สุเมธ พุทธินันท์เมธา. (2549). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านป่าหนาม อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

โสภา สมหวัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาศึกษานอกระบบสำหรับประชากรวัยแรงงาน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.