รูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์

Main Article Content

ปิยรัตน์ ป้องแสนสี

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ 2)  เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์เอกสาร และการศึกษาสภาพการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ โดยการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ และ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์  


           ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ ประกอบด้วย การกำหนดสมาชิกเครือข่าย คุณลักษณะที่ดีของสมาชิกและผู้นำเครือข่าย  การประสานงานเครือข่าย ขอบข่ายและภารกิจความร่วมมือ และการปฏิบัติงานและการประเมินผล  2) รูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วยองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และกระบวนการบริหารเครือข่าย ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ  ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ พบว่า มีความเหมาะสม 3) ผลการทดลองใช้การบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ พบว่า โรงเรียนสามารถดำเนินการตามรูปแบบได้  มีผลด้านความสำเร็จจากการดำเนินการของเครือข่ายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ ด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ป้องแสนสี ป. (2021). รูปแบบการบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(2), 77–88. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/250559
บท
บทความวิจัย

References

จิรภัทร มหาวงค์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียน
ในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
18(4) ตุลาคม – ธันวาคม 2559, 114-126.
ธีระชัย ช่วงบุญศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของ
โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ศักดิ์นิพน สว่างวงศ์ (2557,กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 14(2), 12-24.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2549). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟริกจำกัด.