แนวปฏิบัติในการเตรียมต้นฉบับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

Template

1.รูปแบบการเขียนบทความวิจัย

  1. รูปแบบอักษรและการจัดวางตําแหน่ง

                - พิมพ์บนกระดาษขาว A4 หน้าเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษ

                   บน 1 นิ้ว ล่าง 1 นิ้ว

                   ซ้าย 1 นิ้ว ขวา 1 นิ้ว

                - ความยาวของบทความระหว่าง 8-15 หน้า กระดาษ A4 โดยนับรวม รูป ตาราง และ เอกสารอ้างอิง - ใช้ขนาดอักษร ขนาด 16pt และ 14pt แบบอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK

  1. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย

                2.1 ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องมีชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                2.2 ชื่อผู้แต่ง (ในกรณีเป็นอาจารย์ให้ระบุตําแหน่งทางวิชาการ ในกรณีเป็นนักศึกษาให้ระบุ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมด้วย)

                2.3 บทคัดย่อ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุปสาระสำคัญของงานวิจัยไว้ อย่างครบถ้วน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการดําเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ มีความยาว ไม่เกิน 250 - 350 คํา ระบุคําสำคัญ (ถ้ามี) ไว้ท้ายบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการ เขียนบทคัดย่อทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรมีเนื้อหาตรงกัน

                2.4 บทนํา (ภูมิหลัง) กล่าวถึงความสำคัญและเหตุผลที่ทําการวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

                2.5 วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระบุเป็นข้อ ๆ เรียงลําดับตามความสำคัญ

                2.6.การทบทวนวรรณกรรม

                    -กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี) กรอบของการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปร และการระบุ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

                2.7 วิธีดําเนินการวิจัย ประกอบด้วย

                   - ประชากร กลุ่มตัวอย่าง

                   - เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ (ค่าความเชื่อมั่น ค่าอํานาจจําแนก เป็นต้น)

                   - วิธีรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

                   2.8.สรุปผลการวิจัย เป็นการเสนอผลหรือสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลําดับ อาจแสดงด้วยตาราง กราฟ ภาพ หรือแผนภูมิประกอบการอธิบาย

                   2.9.อภิปรายผล เป็นการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ เพียงใด และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบเพื่อให้แนวคิดที่อาจจะ เห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม

                   - ข้อเสนอแนะ

                   - เอกสารอ้างอิง เขียนตามรูปแบบที่กองบรรณาธิการกําหนด และต้องเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิง ในบทความเท่านั้น โดยจัดเรียงตามตัวอักษรผู้แต่ง

เอกสารอ้างอิง

*หนังสือภาษาไทย

            ชื่อ นามสกุล. (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

*หนังสือภาษาอังกฤษ

            นามสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อ. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

*วารสารภาษาไทย

            ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่), หน้าที่ตีพิมพ์บทความ.

*วารสารภาษาอังกฤษ

            นามสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อ. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, หน้าที่ตีพิมพ์บทความ.

*วิทยานิพนธ์

            ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญา (สาขาวิชา). มหาวิทยาลัย

*สื่ออิเล็กทรอนิกส์

            ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. เข้าถึงได้จาก URL วันเดือนปีที่เข้าถึง.

2.บทความปริทรรศน์/บทความวิชาการ

  1. รูปแบบอักษรและการจัดวางตําแหน่ง

                - พิมพ์บนกระดาษขาว A4 หน้าเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษ

                   บน 1 นิ้ว ล่าง 1 นิ้ว

                   ซ้าย 1 นิ้ว ขวา 1 นิ้ว

                - ความยาวของบทความระหว่าง 8-15หน้า กระดาษ A4 โดยนับรวม รูป ตาราง และ เอกสารอ้างอิง - ใช้ขนาดอักษร ขนาด 16pt และ 14pt แบบอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK

  1. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย

                2.1 ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องมีชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

                2.2 ชื่อผู้แต่ง (ในกรณีเป็นอาจารย์ให้ระบุตําแหน่งทางวิชาการ ในกรณีเป็นนักศึกษาให้ระบุ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมด้วย)

                2.3 บทคัดย่อ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สรุปสาระสำคัญของงานวิจัยไว้ อย่างครบถ้วน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการดําเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ มีความยาว ไม่เกิน 250 - 300 คํา ระบุคําสำคัญ (ถ้ามี) ไว้ท้ายบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการ เขียนบทคัดย่อทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรมีเนื้อหาตรงกัน

                2.4 บทนํา (ภูมิหลัง) กล่าวถึงความสำคัญและเหตุผลที่ทําการวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

                2.5.เนื้อหา 

                2.6.สรุปผล เป็นการเสนอผลหรือสิ่งที่ได้จากการเขียน

                2.7.เอกสารอ้างอิง เขียนตามรูปแบบที่กองบรรณาธิการกําหนด และต้องเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิง ในบทความเท่านั้น โดยจัดเรียงตามตัวอักษรผู้แต่ง

เอกสารอ้างอิง

*หนังสือภาษาไทย

            ชื่อ นามสกุล. (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

*หนังสือภาษาอังกฤษ

            นามสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อ. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

*วารสารภาษาไทย

            ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่), หน้าที่ตีพิมพ์บทความ.

*วารสารภาษาอังกฤษ

            นามสกุล, อักษรตัวแรกของชื่อ. อักษรตัวแรกของชื่อกลาง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, หน้าที่ตีพิมพ์บทความ.

*วิทยานิพนธ์

            ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญา (สาขาวิชา). มหาวิทยาลัย

*สื่ออิเล็กทรอนิกส์

            ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. เข้าถึงได้จาก URL วันเดือนปีที่เข้าถึง.