ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านสำหรับพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมด้านการพัฒนาโปรแกรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 2) หาคุณภาพของโครงงานจากการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ 2) แบบประเมินคุณภาพของโครงงาน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC=0.80-1.00 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นลักษณะชนิดเลือกตอบ โดยมีค่า IOC=0.80-1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.42-0.84 ค่าอำนาจจําแนกอยู่ระหว่าง 0.64-0.82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC=0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44 2) ผลหาคุณภาพของโครงงานจากการจัดการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คะแนนสอบก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จันทร์เกษม ใจอารีย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ฉัฐระพี โพธิ์ปิติกุล. (2562). รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชนนิกา ปัญจันทร์สิงห์. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ผ่านบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเออาร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาวิชวลเบสิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาตรี มูลชาติ. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยอาศัยสื่อ eDLTV รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นริศรา เคนแสง. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ ของนักเรียระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์, และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2558). ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6(2): 228-234.
ภัทรพร ภูมาศ. (2560). การพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
เมธาวรินทร์ สัจจะบริบูรณ์. (2561). รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในห้องเรียนกลับด้านแบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
_______. (2556). การสร้างการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิภาดา วงศ์สุริยา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้เรื่อง การประยุกต์ใช้โปรแกรมภาษา C++. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (ม.ป.ป.). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_ 51855.pdf.
อพัชชา ช้างขวัญยืน. (2560). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อัจฉรา เชยเชิงวิทย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านที่มีการจัดกลุ่มตามรูปแบบของ David Kolb. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2551). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.