ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
ทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม, การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นิสิตระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีค่าคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 83 คะแนน และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 16 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เก็บข้อมูลโดยการวัดคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของบอนเฟอร์โรนี
ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิดาภา สุวรรณ. (2558). ผลการปรึกษากลุ่มโดยการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินความจำเป็นของนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิชานันท์ สมคำศรี. (2555). ผลการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อแบบแผนการปฏิบัติแห่งตนของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารศึกษาศาสตร์, 24(1), 116-128.
เบญจพร บัวสําลี. (2555). ทัศนคติของนักศึกษาต่อร้านเหล้ารอบรั้วมหาวิทยาลัย พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านเหล้ารอบรั้วมหาวิทยาลัยและสุขภาวะของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม,มหาวิทยาลัยนิด้า.
ปาณบดี เอกะจัมปกะ และนิธิศ วัฒนมะโน. (2550). สถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
รวีวรรณ สายแก้วดี. (2556). ผลการปรึกษากลุ่ม ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อการเผชิญปัญหาของผู้ช่วยพยาบาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
รักษ์ ห้วยเรไร. (2560). การพัฒนาการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมต่ออคติสมบูรณ์แบบของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชานีย์ ใจมาลัย. (2560). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(2), 109-126.
สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. (2553). การดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.เข้าถึงได้จาก https:// www.thaihealth.or.th.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). เผยสถิติซดเหล้า คนไทย 5 ลิตร/ ปี ต้นตออุบัติเหตุ. เข้าถึงได้จาก https:// www.thaihealth.or.th.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). พลวัตสุขภาวะไทยสู่การขยายเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาพสากล. เข้าถึงได้จาก https:// www.thaihealth.or.th.
อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2550). การปรึกษากลุ่ม: เอกสารคำสอนวิชา 416621 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Allen, E. I., Michael, D, A., Mary, B, L., Lynn, S. M. (2007). Theories of Counseling and Psychotherapy (5th ed.). Boston.
Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.
Bandura, A. (1978). Reflections on self-efficacy. Advances in Behavior Research and Therapy, 1(4), 237-269.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman.
Glozah, F, N., Ama, N., Adu, T., & Komesuor, J. (2015). Assessing alcohol abstinence self- efficacy in undergraduate students: psychometric evaluation of the alcohol abstinence self-efficacy scale. Journal of health and quality of life outcomes,189(13), 1-6
Young, R. M., Oei, T. P. S., & Crook, G. M. (2007). Development of a drinking refusal self-efficacy questionnaire. Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment, 13(1), 1-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา