การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

Main Article Content

ชณิกานต์ ศรีกำพล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  (1) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 ระหว่างการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์การบูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การบูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  โรงเรียนอนุบาลชุมพลบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์  เขต2  ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2556  จำนวน 2 ห้องเรียน  ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  (Simple  Random  Sampling) ได้ห้องอนุบาล  2/1 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนรู้ด้วยการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคป ห้องอนุบาล 2/2 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนรู้ด้วยการจัดประสบการณ์โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้  t-test (Independent Samples) 

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

            1.  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังได้รับการจัดประสบการณ์การบูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยรวมและแยกรายด้านสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

            2. นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคปมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

            3. นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์บูรณาการตามแนวคิดไฮสโคป มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05     

            4.   นักเรียนมีความพึงพอใจในทุกกิจกรรมอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย