การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการบริการและส่วนประสมการตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, คุณภาพการบริการ, ส่วนประสมการตลาดบริการ, การตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหาร เดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการบริการ และส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน 2) เปรียบเทียบ
การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการบริการ ส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการ
สั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน
จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบที และการทดสอบเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การยอมรับเทคโนโลยี ประกอบด้วย ด้านความง่ายในการใช้งาน และด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน คุณภาพการบริการ ประกอบด้วย ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ ด้านความเอาใจใส่ต่อลูกค้า และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ส่วนประสมการตลาดบริการ ประกอบด้วย ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด
ด้านกายภาพ ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน
2. ผลการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการบริการ และส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน จำแนกตามข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็น
ต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันแตกต่างกัน
References
ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560.
ทองใบ สุดชารี. การวิจัยธุรกิจ: การปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตำรา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2549.
ธนรัตน์ ศรีสำอางค์. พฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านเว็บไซต์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.
ปุณยาพร ศรีจุลัย. การยอมรับการใช้เทคโนโลยีและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่งอาหารฟู้ดแพนด้า ในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2564.
พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, สำนักงาน. ผลสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. (ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2567). จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ publications/ Thailand-Internet-User-Behavior2019.aspx.
พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
พิไลวรรณ อุบลวรรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านตลาดออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2561.
ภานุกร เตชะชุณหกิจ และศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. “อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์,” สมาคมนักวิจัย. 24, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2562): 313.
รัตนา ตัณฑะพานิชกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค ในช่วงเกิดโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในจังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.
สชา ทับละม่อม. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้การจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564.
สริณโญ สอดสี. ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ คุณภาพอาหาร และความคุ้มค่าด้านราคาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำร้านอาหารระดับหรู ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2565.
สัณฑวุฒิ ตุลารักษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีปุ่น, 2563.
อรุณรัตน์ อ่อนเย็น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารจากธุรกิจ ประเภทเดลิเวอรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2560.
Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30, 3 (September 1970): 607-610.
Hair J. F. et al. Multivariate Data Analysis. 6thed. Pearson Prentice Hall: New Jersey, 2006.
TomTom Taffic Index World Rank. Ranking 2023. (online) 2019 (cited 13 January 2023). Available
from: https://www.tomtom.com/traffic-index/ranking/?country=CN,HK,IN,ID,IL,JP,KW,MY,PH,SA, SG,TW,TH,AE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ