Publication Ethics

จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ  (Publication Ethics)

            วารสารบัณฑิตวิทยาลัย  พิชญทรรศน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  เป็นวารสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์บทความในสาขาศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ส่งเสริมการเกษตร ศิลปะ วัฒนธรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนานวัตกรรมขึ้น และเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการของบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติและจริยธรรมในการเผยแพร่บทความไว้อย่างเคร่งครัด ดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความไม่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่นและบทความไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ๆ มาก่อน
  2. ถ้าผู้นิพนธ์นำผลงานผู้อื่นมาใช้ประกอบในบทความ ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงทั้งในเนื้อหาบทความและ

     ท้ายบทความให้รายละเอียดครบถ้วน

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงในผลการวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่ปกปิดข้อมูลหรือรายงานข้อมูล

     ที่เป็นเท็จ

  1. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความต้องมีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
  2. ถ้าผลงานของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วมหรืออาสาสมัครผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการ

      ตามหลักจริยธรรมและให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยใน 

      มนุษย์หรือสัตว์ทดลอง

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
  2. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความ โดยปราศจากอคติใด ๆ ต่อ ผู้นิพนธ์หรือบทความ
  3. บรรณาธิการต้องจัดให้มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความ เพื่อป้องกันการลอกเลียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้
  4. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความต่อผู้อื่นจนกว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
  5. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนต่อผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความจนกว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
  2. ถ้าผู้ประเมินได้รับบทความและพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือบทความไม่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญ ผู้ประเมินต้องปฏิเสธการประเมินบทความทันที
  3. ถ้าผู้ประเมินพบว่าบทความมีการซ้ำซ้อน ลอกเลียนจากบทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการให้ทราบทันที
  4. ผู้ประเมินต้องดำเนินการพิจารณาบทความตามระยะเวลาที่กำหนด
  5. ผู้ประเมินต้องประเมินโดยยึดหลักวิชาการ ไม่มีอคติหรือเจตนาอื่นที่ไม่ดีต่อบทความ