ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครู ในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธนพร ปานธรรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • วิโรชน์ หมื่นเทพ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน , แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ประกอบด้วย 16 โรงเรียน จำนวน 134 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนและได้มาโดยวิธีเทียบสัดส่วนและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์ โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดภารกิจของสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา
2. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รองลงมา คือ ด้านผลประโยชน์ตอบแทน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ
3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

โกวิท บุญด้วง และคณะ. “ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์,” วารสารวิจัยวิชาการ. 4, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2564): 125.

ขจรศักดิ์ ธรรมธัชกุล. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2564.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1, สำนักงาน. รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2565. ระยอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1, 2565.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. คู่มือปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553.

จุฑามาศ อินนามเพ็ง. ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ส่งผลต่อ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2552.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน, 2561

ฐิติณัฐ ปรุงชัยภูมิ. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2561.

ณัฐธิดา สุระเสนา. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2564

ทักษิณ มวลมนตรี. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2564

ปฏิมากาญจน์ แสนโสภาวัน. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา สถานบันแห่งชาติเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้, 2553.

อัญชลี สุขวิบูลย์. ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2559.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. “Determination sample size for research activities,” Education and Psychology Measurement. 30, 3 (1970): 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

ปานธรรม ธ. ., ถิระวณัฐพงศ์ เ. ., & หมื่นเทพ ว. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครู ในโรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(3), 79–89. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/268915