การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน , การเรียนรู้แบบสืบเสาะ , ชุดกิจกรรมการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านร่องสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวัน จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบประเมินสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.68/78.42 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวันสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวัน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.57, S = 0.60)
References
เจษฎา จี๋ก๋อยและสุริยา ชาปู่. “แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2” Journal of Roi Kaensarn Academi. 8, 8 (สิงหาคม 2566): 168-186
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระบบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศษสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์, 2553.
นุจเนตร อินธิดา. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กับแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2562.
ประสาท เนืองเฉลิม. “การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socioscientific,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2551): 99-105.
ลักคณา มหันต์. และประสาท เนืองเฉลิม. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2561.
ศิรกาญจน์ วงสิริวัฒน์. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ลำพูน: โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2, 2560.
Tulin, GENC. “Perspectives Related to Socio-Scientific Issues According to the Scientific Attitude Points of Secondary School Students International,” Journal of Psychology and Educational Studies, 8, 2 (2021) 197-213.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ