การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ศิริการณ์ มาท้วม สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุปิยา ทาปทา สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล, สื่ออินโฟกราฟิก, ทักษะการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุด แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ
       ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการ ในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.22/81.67
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .10

References

แก้วตา อินทรจักร. ผลการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2565.

จันทร์เพ็ญ ปัญญโรจน์. “รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดภูมิภาคในประเทศไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5,” วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563): 141-148.

ชนันภรณ์ อารีกุล. การวิจัยทางสังคมศึกษา. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2561.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี: พีบาลานซ์ไซด์แอนปริ้นติ้ง, 2561.

ฐากร สิทธิโชค. แนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษายุคใหม่. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2564.

ธัญลดา เทพวารินทร์. “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหนูน้อยนักเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5,” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8, 10 (ตุลาคม 2564): 265-269.

ธีรชัย ไชยเสริม และคณะ. “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,” วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9, 1 (มกราคม-เมษายน 2565): 277-285.

นพรัตน์ มาเขียว. “การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,” วารสารอักษราพิบูล. 1, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 73-85.

ปุณณดา จิระจงวัฒนา. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาเรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,” วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์. 3, 1 (มกราคม-มีนาคม 2562): 25-34.

พรสุดา แสนพรมมา และคณะ. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ชัยมงคล,” วารสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. 3, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565): 5-9.

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. อินโฟกราฟิก (แนวคิดเบื้องต้น) : Infographic. (ออนไลน์) 1 มิถุนายน 2563 (อ้างเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566). จาก https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=1991

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2565.

อุษา พร้อมประเสริฐ. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระภูมิศาสตร์ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

มาท้วม ศ. ., จอมหงษ์พิพัฒน์ ภ. ., & ทาปทา ส. . (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก เรื่องสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(3), 1–11. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/268316