การประเมินความต้องการจำเป็นของนักศึกษาในการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การประเมินความต้องการจำเป็น, นักศึกษา, สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของนักศึกษาในการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตัวอย่าง คือ นักศึกษา สังกัดคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 152 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ชนิดแบบตอบสนองคู่ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .814 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Priority Needs Index แบบปรังปรุง (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพที่เป็นจริงในการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.52, S =.60) ส่วนสภาพที่คาดหวังโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.89, S =.30)
2. ความต้องการจำเป็นของนักศึกษาในการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยใน 4 ลำดับแรก ได้แก่ ลำดับที่ 1 คือ ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ (.44) รองลงมา คือ ด้านห้องสมุด หนังสือ ตำรา ข้อมูลสารสนเทศ (.43) ด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนการสอนออนไลน์ (.37) และด้านห้องเรียนห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การเรียนการสอน (.34) ตามลำดับ
References
คณะกรรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2560.
จินตนา ทองเพชร และคณะ. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล,” วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 21, 41 (กรกฏาคม-ธันวาคม 2563): 41-53
บุญเลี้ยง ทุมทอง และประทวน วันนิจ. “การศึกษาในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล (Digital Disruption) และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาไทย,” สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 28, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2565): 1-13.
เมษา นวลศรี และคณะ. “การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,” Journal of Roi Kaensarn Academi. 6, 6 (มิถุนายน 2564): 34-51.
วรรณี แกมเกตุ. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
ส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน,สำนัก. สถิตินักศึกษา. (ออนไลน์) 2566 (อ้างเมื่อ 7 สิงหาคม 2566). จากhttp://www.apr.ubru.ac.th/.
สุวิมล ว่องวาณิช. การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row: New York, 1973.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ