สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
สภาพปัจจุบันและพึงประสงค์, ความต้องการจำเป็น, แนวทางพัฒนาการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 80 คน และผู้สอน จำนวน 245 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละของบุญชม ศรีสะอาด ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .52-.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .46-.71 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทั้ง 4 ฉบับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ทุกฉบับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงานมีค่าเท่ากับ 0.242 ด้านการสนทนาที่มุ่งสะท้อนผลการปฏิบัติงานและด้านการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันมีค่าเท่ากับ 0.229
- แนวทางการพัฒนาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีค่าเท่ากับ 0.205 มีผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2562.
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ, สำนักงาน. การขับเคลื่อนกรบวนการ PLC. (ออนไลน์) 2565 (อ้างเมื่อ 25 มีนาคม 2565). จาก: https://web.amnat-ed.go.th
เฉลิมชาติ เมฆแดง. “แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเอกชน,” บริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 15, ฉบับพิเศษ (ตุลาคม – ธันวาคม 2558)
ฐาปณัฐ อุดมศรี. รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียน. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 15 กันยายน 2564). จาก: https://www.car.chula.ac.th/dis
นัตยา หล้าทูนธีรกุล. แนวคิดและแนวปฏิบัติ PLC กับการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ยุค Thailand 4.0. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 25 เมษายน 2565). จาก: https://anyflip.com/efwtw/nglx/basic
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น, 2560.
วิจารณ์ พาณิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์, 2555.
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง. (ออนไลน์) 2556 (อ้างเมื่อ 15 กันยายน 2564). จาก: https://sites.google.com/a/esdc.go.th/kpt1-plc/home/plc5
สิริรักษ์ นักดนตรี. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตร ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560.
สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส, 2558.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียน เอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
Dufour, R. and M. Fullan. Cultures built to last systemic PLCs at work. Bloomington, IN: Solution Tree Press, 2013.
Gutman, Mary. “Leading a Professional Learning Community for teacher educators: inquiry into college principals motives and challenges,” Teacher Development. 25, 3 (2021): 263-277.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ