การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ นามวงษ์ รร.หนองถ่มวิทยา ต.ดู่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ 33130

คำสำคัญ:

แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม , ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ , การพัฒนาการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมวิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหนองถ่มวิทยา จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากร และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาชีววิทยา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.79/82.81
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
  3. ผลการคิดวิเคราะห์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน         
  4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบนิเวศและประชากรตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.51,=0.27)

References

เกียรติศักดิ์ จันทร์หอม. การพัฒนาแนวทางการค้นหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลบนระบบจัดการฐานข้อมูล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

เทวินทร์ เวฬุวนรักษ์. การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2559.

บุศริน โคนเคน. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพันธะเคมี โดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่สอดแทรกทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2560.

ประนอม จงจิตต์. การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่องเคมีอินทรีย์ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2561.

พัชรี โพชนา. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาชีววิทยาเรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

สมศิริ สิงห์ลพ. การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ “ระบบร่างกายมนุษย์” สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism). ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.

อารีรัตน์ ปั้นปล้อง. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์รายวิชาชีววิทยาเรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562.

Mehrens, W.A. and I.J. Lehmann. Measurement and Evaluation in Education and Psychology 3nd ed. Florida: Holt, Rinehart and Winston, 1984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-27