การพัฒนาชุดการสอน รายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ สุขสบาย สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ชุดการสอน, การสอนการเขียนภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนรายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/ E2 = 80/ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนด้วยชุดการสอน 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอนรายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 4) เพื่อหาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อชุดการสอนหลังจากที่เรียนด้วยชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2559 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 38 คน โดยใช้วิธีการเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการสอนรายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรี จำนวน 2 หน่วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเพื่อหาค่าประสิทธิภาพของชุดการเรียนด้วยตนเอง ด้วยเกณฑ์ E1/ E2 ค่าสถิติทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าได้ชุดการสอน จำนวน 2 หน่วย มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 81.00/ 81.94 นิสิต (ผู้เรียน) มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลความพึงพอใจ 4.57 ซึ่งเป็นระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สํานักงาน. คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทยคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์: เรียงความ ย่อความและสรุปความช่วงชั้นที่2-4, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา: สถาบันภาษาไทย, 2551.

ชนิกา คำพุฒและนวพร คำเมือง. การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2551.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.

................. ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539.

นราวัลย์ พูลพิพัฒน์.ปัญหาการเรียนการสอนวิชา ภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษา. ภาควิชามัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2529.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญวิทย์การพิมพ์, 2542.

พงศ์เทพ จิระโร. หลักการวิจัยทางการศึกษา Principles of Educational Research. ชลบุรี : ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาคณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.

ระพิน ชูชื่น.404403 การสอนการเขียนภาษาไทย(ปีการศึกษา 2/2558). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษา มอค.3, (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ9 ตุลาคม 2559). จากhttp://tqf.buu.ac.th/tqf/index.php/faq/detail_doc3/326951.

ศิริพร ลิมตระการ. เทคนิคการอ่านแบบไดนามิค = Evelyn wood reading dynamics. ม.ป.ท.:ม.ป.พ., 2534.

สายพิณ สมุทรทัย. ผลของการใช้วิธีสอนโครงสร้างระดับยอดที่มีต่อความเข้าใจในการอ่าน และความสามารถทางการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.

สุกัลยา สัปทน และสุภาพร แสนแทน. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552.

สุจริต เพียรชอบ. การพัฒนาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (อัดสำเนา), 2536.

สุชาติ ประจวบเหมาะ. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ: การจัดการเรียนรู้ตามความเป็นจริง, กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, 2544.

Harris, D.P. Testing English as a Second Language. New York: McGraw Hill, 1969.

Kuder, Frederic G. and M.W. Richardson. The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrical. 2 (September 1937): 151-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

How to Cite

สุขสบาย ธ. (2018). การพัฒนาชุดการสอน รายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(2), 115–125. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/221639