การพัฒนาแอปพลิเคชันการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงศ์ พรอุดมทรัพย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • วาสนา เสนาะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • รณกร รัตนธรรมมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, ติดต่อสื่อสาร, การแจ้งเตือนแบบพุช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการออกแบบแอปพลิเคชันการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส 3) เพื่อวัดประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญและวัดผลความพึงพอใจจากผู้ใช้แอปพลิเคชัน ขอบเขตของงานวิจัย คือ 1) การปรับปรุงส่วนผู้ดูแลระบบเพิ่มข่าวสารของเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้รองรับบริการแจ้งเตือนแบบพุชของแอปเปิล 2) แอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส ประกอบด้วย ระบบแจ้งข่าวสารแบบพุชของแอปเปิล ระบบอ่านข่าวสาร ระบบค้นหาข้อมูลห้องพักและเบอร์โทรศัพท์ของอาจารย์ ระบบค้นหาสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ระบบนำทางผ่านจีพีเอสและนำทางผ่านเทคโนโลยีความจริงเสริม ระบบแสดงรายละเอียดแต่ละสาขา ระบบติดต่อแอดมินแจ้งปัญหาการใช้งาน ระบบลงทะเบียนการใช้งาน ระบบห้องสนทนา ระบบการติดต่อสื่อสารแบบถามตอบปัญหากับคณะ และ ระบบแจ้งข้อมูลข่าวสารเป็นรายบุคคล โปรแกรมที่ใช้พัฒนาระบบบนเว็บไซต์ ได้แก่ โปรแกรมอาปาเช่ ภาษาพีเอชพี โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลพีเอชพีมายแอดมิน ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล โปรแกรมที่ใช้พัฒนาบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส ได้แก่ โปรแกรมเอ็กโค๊ด ภาษาอ็อบเจกทีฟซี เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพและวัดความพึงพอใจของแอปพลิเคชัน คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 12 คน และผู้ใช้ จำนวน 328 คน สถิติที่ใช้ใชการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการออกแบบแอปพลิเคชันการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครบนระบบปฏิบัติการไอโอเอสโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.79 2) ผลการออกแบบและพัฒนา แอปพลิเคชันการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส สามารถทำได้ตามขอบเขตการวิจัยที่ได้กำหนดไว้ และ 3) ผลการหาประสิทธิภาพของ แอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 12 คน พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ผลการหาความพึงพอใจของระบบโดยผู้ใช้ จำนวน 328 คน มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.85

References

ณัฐพงศ์ จันทรุพันธ์ และคณะ. “แอนดรอยด์แอปพลิเคชันข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,” การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. 22 มิถุนายน 2560; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2560. หน้า 1101-1113.

ธาริณี นาคเมธี.พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงานราชการเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE). ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557.

พิชญา นิลรุ่งรัตนา. การศึกษาและพัฒนาออกแบบแอพพลิเคชันแบบอินเตอร์แอคทีฟสำหรับไอแพดเพื่อเป็นกรณีศึกษาสื่อแนะนำการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาความต้องการการของผู้ใช้. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556

ส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, สำนัก. รายงานสรุปจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนเรียน ปี 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร: สำนักส่งเสริมวิชา, 2560.

สุธิรา จันทร์ปุ่ม. การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4, 2 (กรกฎาคม 2560): 114-120.

ไสว ชัยบุญเรือง. คุณภาพการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.

อุไร ทองหัวไผ่.การทดสอบซอฟต์แวร์. วารสารเกษมบัณฑิต.16,2 (กรกฎาคม 2558): 140-154.

Alan Dennis . Systems Analysis and Design: An Object-Oriented Approach with UML. 5th Ed. New York: Wiley, 2015.

Emre Isikligil,Semih Samakay. A Prototype Framework for High Notifications. International Journal of Computer Applications 166 (May 2017):8-11.

May H. Riadh, Zarqa University. Notification System to Students using an Android Application. International Journal of Computer Applications. 140 (2016): 22-27.

Roger S. Pressman. Software Engineering: A Practitioner's Approach 8th Edition. McGraw-Hill Education, 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

How to Cite

พรอุดมทรัพย์ ส., เสนาะ ว., & รัตนธรรมมา ร. (2019). การพัฒนาแอปพลิเคชันการติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษาและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 163–173. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/221613