การพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ปัทมา มูลแก้ว การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐกานต์ ประจันบาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

คุณลักษณะความเป็นพลเมือง, แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมือง , ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 176 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ตั้งแต่ .80-1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .762–.956 และความเที่ยงตั้งแต่ .951–.973 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปสาระสำคัญและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การปฏิบัติตามบทบาทของตน ประกอบด้วย 5 ข้อรายการ 2) การมีจิตอาสา ประกอบด้วย 6 ข้อรายการ 3) การเข้าใจความแตกต่างของสังคม ประกอบด้วย 5 ข้อรายการ 4) การปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วย 5 ข้อรายการ โมเดลการวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .823–.970 และมีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่า แสดงว่า องค์ประกอบมีความตรงเชิงโครงสร้าง และองค์ประกอบทุกตัวร่วมกันพยากรณ์โมเดลการวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ได้ร้อยละ 67.8–94.2
2. ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติตามบทบาทของตน พบว่า ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ควรมีการจัดทบทวนความรู้ให้กับผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ให้มีการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในทิศทางเดียวกัน ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ได้รับการฝึกอบรมในระดับที่สูงขึ้นและวิชาพิเศษตามความสนใจ และเปิดโอกาสให้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมหรือการพัฒนาตนเองมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาของตนเอง 2) ด้านการมีอาสา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างการรับรู้ให้ความรู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม รู้จักให้ แบ่งปัน ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ควรมีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาลูกเสือให้มีทักษะชีวิตเพื่อสามารถคิดวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของสังคม 3) ด้านการเข้าใจความแตกต่างของสังคม พบว่า
ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ควรเข้าใจถึงบทบาทและรับฟังความคิดเห็นของผู้กำกับลูกเสือด้วยกัน ตลอดจนให้เกียรติซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกัน ให้เกียรติโดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในความแตกต่างทางพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ตลอดจนสิทธิพื้นฐานทางจารีต ประเพณี วัฒนธรรมของสังคมไทย และ 4) ด้านการปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการ กระบวนการทางประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขและการรู้เท่าทันการเมือง จัดกิจกรรมส่งเสริมความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ควรให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการกำหนดทิศทางของชุมชนภายใต้กฎ กติกาของชุมชน และสังคม

References

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงาน. แนวทางการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2562.

ฉัตรชัย ประภัศร. ผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ ขั้นความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

ทิฆัมพร สมพงษ์. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559.

ธิดาชนก วงค์พิทักษ์. ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.

ไพศาล พากเพียร. “การศึกษาคุณลักษณะทางด้านประชาธิปไตยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560): 2.

ภัสยกร เลาสวัสดิกุล. กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของนิสิตนักศึกษา วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

รังสรรค์ เกิดศรี. รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2565.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2559.

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงาน. พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555.

ลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน, สำนักการ. คู่มือการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน, 2566.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.

ศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์, สำนักงาน. รายงานผลการดำเนินโครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา. อุตรดิตถ์: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ 2565.

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย. “การพัฒนาการบริหารระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย,” วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9, 1 (กรกฎาคม-กันยายน 2561): 1-10.

อดิเรก ฟั่นเขียว และคณะ. การพัฒนารูปแบบการสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนในพื้นที่5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2561.

อรศิริ ไม้ทอง. กระบวนการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนนานาชาติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, 2564.

Soper, D.S. (2024). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models. (online) 2024. From http://www.danielsoper.com/statcalc/calculator.aspx?id=89

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

มูลแก้ว ป. ., & ประจันบาน ณ. . . (2024). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(3), 129–144. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/269690