รูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟเพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี สอนสุข ครุศาสตรมหาบััณฑิิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เอกลักษณ์ เพียสา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา , แนวคิดของวอลดอร์ฟ , การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ , ความคิดสร้างสรรค์เชิงผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของ วอลดอร์ฟเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 4-6 ปี ระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านนาคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบ ดังนี้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และแนวคิดทฤษฎีของวอลดอร์ฟ ซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80-1.00 2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และ 3) แบบทดสอบพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการใช้รูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80-1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้วิธีตรวจสอบความเหมาะสม ได้องค์ประกอบของรูปแบบ ดังนี้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และแนวคิดทฤษฎีของวอลดอร์ฟ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และแนวคิดทฤษฎีของวอลดอร์ฟ ตามลำดับ
2. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้แบบทดสอบพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พบว่าหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565).

จาก https://shorturl.asia/pxDTY.

นฤมล คงกลัด. การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้ภาษาท่าเพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนวัดหนามพุงดอ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2557.

บานชื่น พุ่มชะเอม. การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังท่าดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2553.

บุญรัตน์ จันทร. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558.

บุณรดา ชัยบุญเรือง. ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยประยุกต์ตามแนววอลดอร์ฟ กรณีศึกษา โรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2560.

บุษบง ตันติวงศ์. การศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education). (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 7 ธันวาคม 2565).

จาก https://nontster.wordpress.com/2009/05/13/.

พัชรมณฑ์ ศุภสุข. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้างควบคู่การเสริมแรงทางสังคม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.

พิสิฐ เทพไกรวัล. “ผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย,” วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 10, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563): 25-26.

เพ็ญรำไพ หนูสวัสดิ์. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2554.

ภรณี คุรุรัตนะ และวรนาท รักสกุลไทย. กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาปฐมวัย. (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 11 กันยายน 2566). จาก http://admin.elibrary.onecapps.org/Book/398.pdf.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2562.

วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2560.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2560.

สุพัตรา ขันทอง. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562.

สุพัสษา บุพศิริ. ผลการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางด้านภาษาและการกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2560.

อารี พันธ์มณี. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์, 2557.

Martyn, Rawson. Waldorf education: a continuous cycle of renewal. (online) 2017 (อ้างเมื่อ 21 May 2024). จาก https://www.waldorf-resources.org/single-view/waldorf-education-a-continuous-cycle-of-renewal

Wonder Valley International School. วอลดอร์ฟ (Waldorf) คืออะไร? โรงเรียนที่มีการสอนแบบวอลดอร์ฟเป็นอย่างไร?. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567). จาก https://shorturl.asia/quv7j

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

สอนสุข ส., เพียสา เ. ., & จันทรักษ์ ท. . (2024). รูปแบบการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวอลดอร์ฟเพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(3), 161–175. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/269261