แนวทางพัฒนานักฟุตบอลเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพ

ผู้แต่ง

  • ธัชนนท์ จินดาปุก สาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

นักกีฬาฟุตบอลเยาวชน, นักฟุตบอลอาชีพ, ผู้บริหาร, ผู้ฝึกสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนานักกีฬาฟุตบอลเยาวชนของจังหวัดศรีสะเกษสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพ โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฟุตบอลระดับเยาวชนของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 20 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ด้านนักกีฬา นักฟุตบอลเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ มีความสามารถทางเทคนิค ความเข้าใจแท็คติก สมรรถภาพร่างกาย และความพร้อมด้านจิตใจอยู่ในระดับดี แต่ควรได้รับความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬามากยิ่งขึ้น ด้านผู้ฝึกสอน ควรมีแผนพัฒนาผู้ฝึกสอนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมผู้ฝึกสอนใหม่และต่อยอดผู้ฝึกสอนเดิมให้พัฒนาสู่ระดับที่สูงขึ้น ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรเพิ่มโอกาสให้เยาวชนสามารถเข้าถึงสนามฟุตบอลมาตรฐานได้มากขึ้น ควรพัฒนาสนามฝึกซ้อมในพื้นที่อื่นนอกเขตอำเภอเมืองให้มีคุณภาพทัดเทียมสนามฟุตบอลมาตรฐาน และควรมีการจัดสรรอุปกรณ์การฝึกซ้อมฟุตบอลไปสู่ทีมโรงเรียนหรืออคาเดมี่ในจังหวัดตลอดทุกปี ด้านรายการแข่งขัน ควรมีการแข่งขันฟุตบอลลีกเยาวชนภายในจังหวัดศรีสะเกษ โดยกำหนดช่วงระยะเวลาให้สอดคล้องกับปฏิทินฟุตบอลเยาวชนรายการอื่นในระดับภูมิภาคและระดับชาติ ด้านการพัฒนาสู่ระดับอาชีพ ควรมีสโมสรฟุตบอลอาชีพรองรับนักฟุตบอลเยาวชนที่ผลิตออกมา โดยสโมสรต้องมีนโยบายการให้โอกาสเด็กเยาวชนของจังหวัดศรีสะเกษอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการต่อยอดนักฟุตบอลเยาวชนไปสู่ระดับอาชีพ

References

การกีฬาอาชีพการกีฬาแห่งประเทศไทย, สำนักงาน. สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพเป็นกีฬานำร่อง 5 ปี (2542-2546) ประจำปี 2542-2543. กรุงเทพฯ: สำนักงานกีฬาอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2543.

กฤษณะ สมจิตร. การแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์โปรวินเชียลลีก ประจำปี 2543 : กรณีศึกษาทีมฟุตบอลสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545.

ชัยชนะ นิ่มสุวรรณ. คุณลักษณะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลที่มีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติในวิทยาเขตภาคเหนือ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2562.

พฤกษศาสตร์ ลำพุทธา. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาจักรยานเพื่อความเป็นเลิศของสมาคมกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.

เทิดทูน โตคีรี และคณะ. “รูปแบบการพัฒนาศูนย์ฝึกนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนของสโมสรฟุตบอลอาชีพ” วารสารมนุษย์ศาสตรและสังคมศาสตร์ (สทมส.) 1 (มกราคม-เมษายน 2560): 85.

FA Thailand. The Analysis บทวิเคราะห์ฟุตบอลไทย 2019. (ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 16 กรกฎาคม 2563). จาก https://fathailand.org/uploads/download/c084cac544af1e8b033857c31696de86.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

จินดาปุก ธ. . (2024). แนวทางพัฒนานักฟุตบอลเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 19(3), 53–63. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/268683