การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา 4091113 แคลคูลัส 1
คำสำคัญ:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, แคลคูลัส 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชา 4091113 แคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา 4091113 แคลคูลัส 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เรียนด้วยบทเรียน E-Learning รายวิชา 4091113 แคลคูลัส 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่มีต่อการใช้บทเรียน E-Learning รายวิชา 4091113 แคลคูลัส 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนรายวิชา 4091113 แคลคูลัส 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 32 คน โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียน E-learning เรื่อง แคลคูลัส 1 (การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 (การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย) ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียน E-learning เรื่อง แคลคูลัส 1 (การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียน E-learning เรื่อง แคลคูลัส 1 (การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย) ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.59/81.77 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้บทเรียน E-learning เรื่อง แคลคูลัส 1 (การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย) พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียน E-learning เรื่อง แคลคูลัส 1 (การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย) มีภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด
References
ทวีป ศิริรัศมี. การวางแผนพัฒนาและประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2544.
พีระพล ศิริวงศ์. บทเรียน E-learning สำหรับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2552.
ภูวไนย สุรินทราบูรณ์. การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
ราชัน โพธิขำ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน และทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2549.
รุจรดา จรูญชัยชนากิจ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. สื่อและนวัตกรรมแห่ง การเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์, 2551.
วันทนีย์ สาระวิถี. การพัฒนาคอมพิวเตอร์เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง ปี 2559). อุบลราชธานี: สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2559.
เสาวลักษณ์ มโนภิรมย์. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องคู่อันดับ และกราฟ อัตราส่วนและร้อยละ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2544.
อกนิษฐ์ อ้วนแก้ว. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องไฮเพอร์โบลาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนโดยปกติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2548.
อรุณรัตน์ คำพีพงษ์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน และทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2548.
Katz. Computer-assisted Instruction of Mayan Numbers. Master Abstracts International. 39 (December 2001): 1477.
Wrigth, P.A. A Study of Computer Assisted Instruction for Remediation in Mathematics on the Secondary Level.Dissertation Abstracts International. 45, 4 (October 1984): 1063A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ