บทบาทขององค์กรต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนจนเมือง กรณีศึกษา เมืองหลักในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก ไพรีพินาศ สาขาพัฒนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ สาขาพัฒนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

บทบาทองค์กร, คนจนเมืองที่อยู่ริมทางรถไฟ, การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง พลวัตความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของคนจนเมืองกับแนวทางการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนจนเมือง โดยการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ (Depth Interview Guideline) สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและส่งเสริมให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนจนเมือง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนคร ศูนย์สงเคราะห์ฝึกอาชีพสตรีรัตนาภา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ผลของการศึกษา พบว่า หน่วยงานทั้งภาครัฐ ได้มีการเข้ามาช่วยสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่มีส่วนจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของคนจนเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนริมทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในแต่ละทุกช่วงวัยด้วย ซึ่งหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและโอกาสทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ในเชิงการบริหารจัดการ พบว่า ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนจนเมืองที่อาศัยอยู่ริมทางรถไฟมีอุปสรรคปัญหาเกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยภายในของหน่วยงาน คือ ขาดการให้ความสำคัญกับการส่งเสริม หรือชักชวนให้คนจนเมืองทุกเพศทุกวัยได้มองเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขาดการวางแผนแนวทางในการส่งเสริมและสอดแทรกด้านการสร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนเกิดการอยากเรียนรู้ที่มาจากการต้องการเรียนรู้จากตัวตนเองอย่างแท้จริง รวมทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นจากคนจนเมืองเองที่ไม่มีเวลาในการเข้าร่วมฝึกอบรมเพราะเป็นแรงงานหลักของครัวเรือนที่ต้องหารายได้ทุกวัน ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนจนเมือง ลดความเป็นทางการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม สร้างการเรียนรู้ในแนวราบจะช่วยลดข้อจำกัดในการจัดกระบวนการ ทำให้การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กัลยรัตน์ กล่ำถนอม. (2547). การพัฒนาศักยภาพคนจนในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2547- 2557). วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วชิรวัชร งามละม่อม. (ม.ป.ป.). การพัฒนาและแนวทางแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2558, จาก: www.thaivijai.com

ศรัณย์พร ยอดค้าลือ. (2550). การเข้าถึงการบริการของรัฐของคนจนในชุมชนชนบทภาคเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการศึกษานอกระบบ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้าในประเทศไทย ปี 2555. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2558, จาก: www.lrct.go.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สภาวะการศึกษา ไทย ปี 2550/2551 ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จ้ากัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

อคิน รพีพัฒน์. (2542). ชุมชนแออัดองค์ความรู้กับความจริง. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.).

อนันท์ชนก สกนธวัฒน์ (2555). พลวัตความยากจนกรณีศึกษา ครัวเรือนชาวนาในพื้นที่เขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน พับลิซซิ่ง (ประเทศไทย) จ้ากัด.

Dhiravisit, A. (2009). Government Policy For Urban Poor Community Management In Developi Countries: Case Study Thailand. International Business & Economics Research Journal, (5), 94. Retrieved http://www.cluteinstitute. com/ojs/index.php/IBER/Article/view/3139

Haughton and Khandker. (2009). Handbook on Poverty and Inequality. Retrieved https://ideas.repec.org/b/ wbk/wbpubs/ 11985.html

International Labor Organization (ILO) (2014). The Road to the ASEAN Economic Community 2015: The Challenges and Opportunities for Enterprises and their Representative Organization, Geneva: ILO. Retrieved from www.ilo.org/public/english/dialogue/.../ working_paper_n7_en.pdf

Sadiman Arief, S. (2004). Challenges in Education in Southeast. Retrieved http://www.seameo.org/vl/library/ dlwelcome/publications/paper/india04.ht

World Bank. (2011). Urban Poverty: An Overview. Retrieved from: http://web.Worldbank .org/WBSITE/EXTERNAL/TOPICS/ EXTURBANDEVELOPMENT/EXTURBANPOVERTY/0,,contentMDK: 20227679~menuPK:7173704~pagePK:148956~piPK:216618~ theSitePK:341325,00.html.

Focus on Urban Disparities. (2012). Retrieved June 28, 2015, Retrieved https://www.unicef.org/sowc2012/pdfs/SOWC-2012-Focus -On- Urban-Disparities.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-01