Journal Information
จริยธรรมการตีพิมพ์
วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ และมีความมุ่งหวังให้ผู้ที่เกี่ยวข้องการกับดำเนินงานด้านวารสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประพันธ์ บรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความ ปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมที่วารสารได้กำหนดไว้ ดังนี้
จริยธรรมของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการมีหน้าที่บริหารจัดการและดำเนินการจัดทำวารสารฯ ตามวัตถุประสงค์ของวารสารฯ
2. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพบทความ รับรองคุณภาพบทความที่ได้รับการตีพิมพ์และป้องกันบทความที่มีความซ้ำซ้อน (Plagiarism) กับวารสารฉบับอื่น
3. บรรณาธิการมีหน้าที่รักษาความลับที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียของวารสารฯ ทั้งที่เป็นผู้ประพันธ์และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
4. บรรณาธิการต้องให้เสรีภาพแก่ผู้ประพันธ์บทความในการแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ และคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผล งานทางวิชาการ รวมทั้งต้องให้เสรีภาพแก่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความในการประเมิน วิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ประพันธ์เพื่อให้เกิดความถูกต้องและความสมบูรณ์ของบทความ
5. บรรณาธิการต้องทำการชี้แจง แก้ไข ถอนบทความ และขออภัยด้วยความเต็มใจ กรณีเกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำวารสารฯ
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางวิชาการตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ทำการประเมิน
2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องประเมินบทความ โดยปราศจากอคติหรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ประพันธ์บทความ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องตรงต่อเวลาและรักษาความลับเกี่ยวกับบทความ ตลอดช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
จริยธรรมของผู้ประพันธ์บทความ
1. ผู้ประพันธ์บทความที่ปรากฏชื่อในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในผลงานวิชาการจริง
2. ผู้ประพันธ์บทความต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ในวารสารฯ
3. ผู้ประพันธ์บทความต้องคิดวิเคราะห์ ค้นคว้า เรียบเรียง และอ้างอิงข้อมูล โดยผู้ประพันธ์เอง ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงในบทความ และรับผิดชอบต่อความคิดเห็นหรือข้อสรุปในบทความที่นำมาตีพิมพ์
4. ผู้ประพันธ์บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของคนอื่น ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง โดยรับรองว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารฯ นั้น เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในแหล่งใดมาก่อน
5. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องผ่านการตรวจการพิมพ์ซ้ำด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกินร้อยละ 20
6. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องอ้างอิงผลงานวิชาการของผู้อื่นให้ครบถ้วน และต้องระบุไว้ในเอกสารอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ หากมีการนำข้อความมาใช้ในบทความของตนเอง
7. ผู้ประพันธ์บทความต้องรับรองว่า บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์มีความถูกต้องของเนื้อหา การรายงานข้อมูล และในกรณีบทความวิจัย ผลการวิจัยที่ปรากฏในบทความต้องมาจากการทำวิจัยจริง
8. หากเป็นบทความวิจัยที่ได้รับทุนการสนับสนุน ผู้ประพันธ์บทความต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำงานวิจัย หรือต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน (ถ้ามี)