การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์
ในวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ (คลิกเปิดแบบ PDF)

รูปแบบการเขียนบทความเอกสางอ้างอิง (คลิกเปิดแบบ PDF)

ประกาศข้อกำหนด 

หลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทความทางวิชาการ บทความวิจัย บทความทั่วไป บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความพิเศษ โดยบทความต้องไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสาร และต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer Review) เพื่อให้บทความทุกชิ้นมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากลและนำไปอ้างอิงได้ 

การจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อเสนอบทความ

  1. ต้นฉบับจะต้องพิมพ์ตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามหลักเกณฑ์วารสารฯ
  2. บทความต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ มีความยาว 10-15 หน้า
  3. ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อสกุล หน่วยงานที่สังกัด หมายเลขติดต่อ และอีเมลล์ ของผู้ประพันธ์อย่างชัดเจน
  4. การส่งต้นฉบับผู้เขียนสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo และส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal  และแนบไฟล์เอกสาร Microsoft Word ในระบบ หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อกองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ บทความที่ส่งเข้ามากองบรรณาธิการจะนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินคุณภาพและความเหมาะสมก่อนการตอบรับตีพิมพ์
  5. เมื่อบทความได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงแก้ไข ผู้ประพันธ์จะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
  6. ภาษา ต้องเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ          
  1. ต้นฉบับ ต้องพิมพ์หน้าเดี่ยวด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาด A 4 ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 ระยะห่าง 1 ซ.ม. ตั้งค่าหน้ากระดาษด้วยระยะห่างจากขอบกระดาษ ด้านบนและซ้ายมือ 1.5 นิ้ว หรือ 3.81 ซม. ด้านล่างและขวามือ 1 นิ้ว หรือ 2.54 ซม. ใส่หมายเลขหน้ากำกับมุมบนขวาของทุกหน้า (ยกเว้นหน้าแรก)
  2. จำนวนหน้า บทความมีความยาว 10-15 หน้า กระดาษขนาด A 4
  3. ขนาด รูปแบบ และชนิดตัวอักษร รายละเอียดตามตารางข้างล่างนี้

รายละเอียด

ขนาดตัวอักษร

รูปแบบ

ชนิด

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย)

18

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)

18

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ชื่อผู้ประพันธ์ (ภาษาไทย)

16

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ชื่อผู้ประพันธ์ (ภาษาอังกฤษ)

16

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด อีเมล(Footnote) (ภาษาไทย)

12

ชิดซ้าย

ตัวธรรมดา

ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด อีเมล (Footnote) (ภาษาอังกฤษ)

12

ชิดซ้าย

ตัวธรรมดา

บทคัดย่อ/Abstract

16

กึ่งกลาง

ตัวหนา

เนื้อหาบทคัดย่อ

14

ชิดซ้าย

ตัวธรรมดา

คำสำคัญ/Keywords

14

ชิดซ้าย

ตัวหนา

หัวข้อเรื่อง (ไม่ลำดับเลข)

16

กึ่งกลาง

ตัวหนา

หัวข้อย่อย

14

ชิดซ้าย

ตัวหนา

เนื้อเรื่อง

14

ชิดซ้าย

ตัวธรรมดา

เอกสารอ้างอิง

16

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ชื่อตาราง (ระบุไว้บนตาราง)

14

ชิดซ้าย

ตัวหนา

ชื่อรูปภาพ (ระบุไว้ใต้รูปภาพ)

14

ชิดซ้าย

ตัวหนา

  1. บทความต้นฉบับทุกเรื่องต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบดังนี้

     10.1 ชื่อเรื่อง ควรสั้น กะทัดรัด สื่อถึงประเด็นหลักของการศึกษาวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ด้วยรูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 pt. ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน

     10.2 ชื่อผู้ประพันธ์ ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ตำแหน่งงาน และหน่วยงานที่สังกัดที่เชิงอรรถ (Footnote) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

     10.3 บทความ ถ้ามีแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยให้ใส่ในเชิงอรรถ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

     10.4 บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ 3-5 คำ

     10.5 บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมาหรือเหตุผลที่นำไปสู่ประเด็นการศึกษา พร้อมจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของบทความโดยสังเขป

     10.6 เอกสารอ้างอิง ใช้รูปแบบตามคู่มือการพิมพ์ของสมาคมจิตวิทยาอเมริกา (American Psychological Association Citation Style หรือ APA) ฉบับล่าสุด ทั้งเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเอกสารอ้างอิงต้องเป็นที่ถูกตีพิมพ์และได้รับการยอมรับทางวิชาการ ไม่ควรเป็นบทคัดย่อหรือการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ถ้าเอกสารนั้นยังไม่ได้ถูกตีพิมพ์ ต้องระบุว่ารอการตีพิมพ์ (in press)

              10.7.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย

                         - ชื่อเรื่อง (Title)

                        - ชื่อผู้ประพันธ์ (Author)

                        - บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract)

                        - คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Keywords)

                        - บทนำ (Introduction)

                        - วัตถุประสงค์การวิจัย (Objective)

                        - กรอบแนวคิดในการวิจัย (Framework)

                        - วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)

                        - ผลการวิจัย (Finding)

                        - สรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion)

                        - ข้อเสนอแนะ (Recommendation) (ถ้ามี)

                        - เอกสารอ้างอิง (Reference) 

              10.7.2 บทความทางวิชาการ ประกอบด้วย

                        - ชื่อเรื่อง

                        - ชื่อผู้ประพันธ์

                        - บทคัดย่อ

                        - คำสำคัญ

                        - บทนำ

                        - เนื้อหา

                        - บทสรุป

                        - เอกสารอ้างอิง

              10.7.3 บทความทั่วไป

                        - ชื่อเรื่อง

                        - ชื่อผู้ประพันธ์

                        - บทนำ

                        - เนื้อหา

                        - บทสรุป

                        - เอกสารอ้างอิง

              10.7.4 บทวิจารณ์หนังสือ

                        - ข้อมูลทางบรรณานุกรม

                        - ชื่อผู้วิจารณ์

                        - บทวิจารณ์

              10.7.5 บทความปริทัศน์ (Article Review)

                        - ชื่อเรื่อง

                        - ชื่อผู้ประพันธ์

                        - คำสำคัญ

                        - บทนำ

                        - บทสรุป

  1. ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ