การศึกษาอัตชีวประวัติในฐานะเครื่องมือประเมินตนเองเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของนักการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
สิริธิดา ชินแสงทิพย์
ณฐิณี เจียรกุล

บทคัดย่อ

การประเมินตนเองเป็นกระบวนการใคร่ครวญต่อร่องรอยหลักฐานที่สะท้อนการเรียนรู้ในฐานะนักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย โดยอาศัยอัตชีวประวัติเป็นเครื่องมือสืบค้นการเติบโตทางวิชาชีพของผู้วิจัย การตั้งคำถามในชีวิตกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พัฒนาเป็นหมุดหมายสำคัญที่เป็นเสมือนเข็มทิศในการเดินทางเพื่อตอบคำถามหลักที่ว่า “ฉันจะพัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพได้อย่างไร” วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสืบค้นและทำความเข้าใจเส้นทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้วิจัยในฐานะนักการศึกษาปฐมวัย ผู้วิจัยใช้การสืบค้นตนเองผ่านเรื่องเล่าตามกรอบการพัฒนามนุษย์ 7 ระยะ ร่วมกับเครื่องมือทำความเข้าใจตนเอง ได้แก่ อุปนิสัยของมนุษย์ นพลักษณ์ และบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ ใช้เวลา 1 เดือน ในการสืบค้นเพื่อตอบคำถามวิจัย โดยย้อนระลึกถึงเหตุการณ์ในแต่ละช่วงชีวิต ได้แก่ 0-7 ปี 7-14 ปี 14-21 ปี 21-28 ปี และ 28-35 ปี รวม 5 ระยะ ร่วมกับการบันทึกประสบการณ์และการทำงานศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลโดยการอ่านซ้ำข้อมูล และสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสะท้อนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมิติด้านในของผู้วิจัยทั้งด้านองค์ความรู้ เจตคติ และทักษะวิชาชีพครูปฐมวัย ตามขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 5 กระบวนการ ได้แก่ การมีใจจดจ่อ ความสามารถในการเข้าใจ การเห็นคุณค่าและความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงตัวตน และการเปลี่ยนแปลงผู้อื่น ครูปฐมวัยควรได้รับการสนับสนุนให้สะท้อนคิดและประเมินตนเองเป็นระยะในฐานะเครื่องมือพัฒนาทางวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565, พฤศจิกายน 10). บรรยายพิเศษโดย Prof. James J. Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล (Nobel Laureate in Economics, 2000). [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=2j476NGIZSk

ชาติ สุชาติ. (2561, สิงหาคม 13). การเดินทาง. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=Jy35oa5oFoY

ชินริณี วีระวุฒิวงศ์. (2558). Biography: การศึกษาชีวประวัติ เพื่อก้าวสู่เส้นทางแห่งความหมาย. ออฟเซ็ท พลัส.

ฐาปนีย์ ดวงฉายจรัสไชย. (2564). ประเมินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทั้งกับคุณครูและนักเรียน. EDUCA. https://www.educathai.com/knowledge/articles/417

บุษบง ตันติวงศ์. (2552). การศึกษาวอลดอร์ฟ ปรัชญา หลักสูตรและการสอน. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษบง ตันติวงศ์ และ ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2558). การประเมินอย่างใคร่ครวญ แนวคิดและการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ. (2563). การอบรมเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย : การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 1-9.

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สมาคมนพลักษณ์ไทย. (2556, 9 ตุลาคม). ความเป็นผู้นำของคน ลักษณ์ 9 (ผู้สมานไมตรี). https://enneagramthailand.org/บทความ-showdetail-22655-45556-ความเป็นผู้นำของคน_ลักษณ์_9.html

หฤทัย อนุสสรราชกิจ. (2558). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับการพัฒนาครูปฐมวัย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(1), 123-128.

Barbosa, M. L. D. O., & Marín-Suelves, D. (2024). Content and Sentiment Analysis of Autobiographical Narratives of Experienced and Well-Evaluated Teachers in Spain. Education Sciences, 14(6), 1-18. https://doi.org/10.3390/educsci14060642

Bluefield University. (n.d.). 10 qualities of great early childhood educators. https://www.bluefield.edu/blog/qualities-childhood-educators/

Braud, W., & Anderson, R. (1998). Transpersonal research methods for the social science: Honoring human experience. Sage.

Buzeti, J., Stare, J., Klun, M., & Kotnik, Z. (2016). The impact of leader’s temperament on work absence. Transylvanian Review of Administrative Sciences, 12(SI), 23-37.

Clandinin, D. J. (2006). Narrative inquiry: A methodology for studying lived experience. Research Studies in Music Education, 27(1), 44-54. https://doi.org/10.1177/1321103X0602700103

Clarke, A. (2023). Teacher inquiry: By any other name. International Encyclopedia of Education, 4(5), 232-242. https://doi.org/10.1016/b978-0-12-818630-5.04026-4

Colker, L. J. (2008). Twelve characteristics of effective early childhood teachers. YC Young Children, 63(2), 68-73.

Gotch, C. M., Carbonneau, K. J., & Orman, D. S. J. V. (2021). Preparing pre-service teachers for assessment of, for, and as learning. In S. L. Nichols & D. Varier (Eds.), Teaching on assessment (pp. 17-36). Information Age Publishing.

Huffman, L., Lefdahl-Davis, E. M., & Alayan, A. (2022). The enneagram and the college student: Empirical insight, le gitimacy, and practice. Christian Higher Education, 21(3), 214-232. https://doi.org/10.1080/15363759.2021.1929566

Kosyakov, A., & Ishkov, A. (2024). Typology of temperaments “Priority”: Sustainable development of the organization due to the increase in the personnel work efficiency. BIO Web of Conference, 116, 1-10. https://doi.org/10.1051/bioconf/202411608013

Maser, M. (2024). Your story, your life, your learning: Autobiography Reveals Basis for Supporting Personalize, Holistic Pedagogy. Journal of Contemplative and Holistic Education, 2(1), 1-18. https://doi.org/10.25035/jche.02.01.01

Queensland Government, Early Childhood Education and Care [QLD Education]. (n.d.). Qualities for great early childhood educators. https://earlychildhood.qld.gov.au/careers/qualities-of-great-early-childhood-educators

Savin-Baden, M. (2007). Narrative inquiry: Theory and practice. Journal of Geography in Higher Education, 31(3), 459-472. http://doi.org/10.1080/03098260601071324

Schaefer, S. (2004). Working with Biography: Sharing stories of becoming. Lilipoh, 36(9), 6-7.

Staley, B. K. (2004). The seven-year rhythm. Lilipoh, 36(9), 12-14.

Steiner, R. (1996). The education of the child and early lectures on education. Anthroposophic.

Sunbridge Institute. (n.d.). Rudolf Steiner & Anthroposophy. https://www.sunbridge.edu/about/rudolf-steiner-anthroposophy/

Yilmaz, A., Aras, S., Ülker, A., & Şahin, F. (2021). Reconceptualizing the role of the child portfolio in assessment: How it serves for ‘assessment as learning’. Contemporary Issues in Early Childhood, 24(4), 411-424. https://doi.org/10.1177/14639491211048002