ผลของการใช้โปรแกรมฝึกเขียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ต่อการพัฒนาทักษะการเขียนในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชุดโปรแกรมการฝึกการเขียนด้วยเทคโนโลยีภาพ เสมือนจริงที่มีต่อการรับรู้ทางสายตาในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฝึกเขียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 25 คน อายุระหว่าง 7 ปี ถึง 10 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มแบบจับฉลาก คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 13 คนได้รับโปรแกรมการฝึกเขียนด้วยเกมที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน ได้รับโปรแกรมการฝึกกิจกรรมบำบัดด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทางคลินิกโดยนักกิจกรรมบำบัด ทำการทดลองจำนวน 20 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ได้แก่ 1. แบบประเมินการรับรู้ทางสายตา (DTVP-3) ประเมินก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง 2. แบบประเมินความสามารถด้านการเขียนด้วยแบบประเมินความสามารถทักษะด้านการบูรณาการการมองเห็นและการเคลื่อนไหว (VMI) 3. แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (WRAT-Thai) ประเมินก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีการรับรู้ทางสายตา หลังให้ชุดโปรแกรมการฝึกการรับรู้ทางสายตาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสามารถทักษะด้านการบูรณาการการมองเห็นและการเคลื่อนไหวและความสามารถด้านการเขียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังให้โปรแกรมฝึกเขียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กมีการเขียนที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน สามารถนำไปฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
กรพินธุ์ ดวงทองพล. 2560. ผลของแบบฝึกหัดการรับรู้ทางสายตาต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการมนุษย์) มหาวิทยาลัยมหิดล
ดารณี ธนะภูมิ. 2543. การสอนเด็กปัญญาอ่อน. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณะสุข .
นันทณี เสถียรศักดิ์พงษ์. 2545. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในด้านการเขียนของเด็กปกติก่อนวัยเรียน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.http://archive.lib.cmu.ac.th/full/res/2545/treshsc520059_45_
full.pdf
นิศาชล ชมเชย.2558. ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดการรับรู้ทางสายตาในนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พีรดา อุ่นไพร.2554. ความจำในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญศรี สิงพันธ์. 2561. ประสิทธิผลของแนวทางส่งเสริมทักษะความพร้อมทางการเขียนสำหรับเด็กอนุบาล อายุ 4-6 ปี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มานิกา วิเศษสาธร. 2547. การศึกษาเปรียบเทียบผลการทดสอบด้านกระบวนการรับรู้ทางสายตาระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กับเด็กปกติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล
วินัดดา ปิยะศิลป์. 2552. คู่มือ พ่อแม่ คุณครู ตอน ความบกพร่องด้านการเรียน (Learning Disorders: LD).กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2556). การพัฒนาเกมแทนแกรมร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี DEVELOPMENT OF TANGRAMS WITH AUGMENTED REALITY. พิษณุโลก: วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 56-66. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70956/57609
ศรียา นิยมธรรม. 2546. การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
สุภาภรณ์ คำดวงดาว. 2561. ประสิทธิผลของแนวทางบำบัดการเขียนสาหรับเด็กสมาธิสั้นที่มีความบกพร่องด้านการเขียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Adams, Mike. 2004. The Top Ten Technologies: #3 Augmented Realities.http://www.naturalnews.com/ 001333.html
Beery, K. E., Buktenica, N. A., & Beery, N. A. 2010. The Beery-Buktenica Developmental Test of Visual Motor Integration, Sixth Edition. Bloomington, MN: Pearson.
Case-Smith, J., Weaver, L., & Holland, T. 2014. Effects of a classroom-embedded occupational therapist- teacher handwriting program for first-grade students. American Journal of Occupational Therapy, 68, 690–698. http://dx. doi.org/10.5014/ajot.2014.011585.
Gregory Kipper and Joseph Rampolla. (2013). Augmented reality: an emerging technologies guide to AR. Waltham: Syngress.
Hersch, G. I., Lamport, K. N. & Coffey, M. S. 2005. A systematic review of interventions to improve handwriting. Canadian Journal of Occupational Therapy, 78, 13–25.
Hoy, M. M. P., Egan, M. Y., & Ferder, K. P. 2011. A systematic review of interventions to improve handwriting. Canadian Journal of Occupational Therapy, 78(1), 13-25.
Natalia Fusco.2015. Efficacy of a perceptual and visual-motor skill intervention program for students with dyslexia. School of Philosophy and Sciences, Universidade Estadual Paulista "Júlio de Mesquita Filho" - UNESP - Marília (SP), Brazil.
Schneck, C. M. .2010. A frame of reference for visual perception. In Kramer P, Hinojosa J (Ed.), Frames of Reference for Pediatric Occupational Therapy (3rd ed., pp. 349-386). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.